สาระน่ารู้ ประจำวันที่ 14 ธันวาคม 2560

ส่องตลาดอสังหาฯ ปี 61 บ้าน-คอนโดฯ โตต่อเนื่อง ไร้ฟองสบู่

ส่องตลาดอสังหาฯ ปี 61 บ้าน-คอนโดฯ โตต่อเนื่อง ไร้ฟองสบู่

แม้ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2560 จะไม่เติบโตเปรี้ยงปร้างเหมือนกับในอดีต แต่ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งภาคธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสท้าย ๆ ของปี ทำให้กูรูทางด้านอสังหาริมทรัพย์หลายท่านต่างฟันธงว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2560 จะเติบโตต่อเนื่องไปจนถึงปี 2561 ทั้งบ้านและคอนโดมิเนียม ภายใต้ปัจจัยที่น่าจับตามองหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องที่ดิน

คอนโดฯ คาดโตต่อเนื่องถึงปี 61
นายวิชัย พูลวรลักษณ์ กรรมการสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่า คอนโดมิเนียมถือเป็นพระเอกของตลาดอสังหาริมทรัพย์มาตลอด 6-7 ปีที่ผ่านมา โดยไม่มีภาวะซัพพลายล้นตลาดเหมือนปี 2540 เนื่องจากมีข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่ช่วยวิเคราะห์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันมากขึ้นของเหล่าผู้ประกอบการ ทำให้โครงการที่สร้างขึ้นมาสามารถโอนได้จริง โดยมีอัตราดูดซับประมาณ 5 ยูนิต/โครงการ/เดือน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่อยู่ที่ 4 ยูนิต/โครงการ/เดือน

คอนโดมิเนียมเติบโตจากเส้นทางรถไฟฟ้า โดยเฉพาะสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย อาทิ บางแค บางหว้า เนื่องจากราคาที่ดินถูก จึงทำให้ราคาคอนโดมิเนียมยังไม่สูงมากนัก รวมถึงแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย บริเวณแบริ่ง ซึ่งมีโครงการใหม่ ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ราคาไม่สูงนัก เหมาะสมกับกำลังซื้อของผู้บริโภค และบริเวณหลักสี่ รัชโยธิน ก็ได้รับเสียงตอบรับดีจากผู้บริโภคเช่นกัน โดยทำเลที่ขายดีอย่างต่อเนื่องคือ ทำเลใจกลางเมือง อาทิ สุขุมวิท อโศก อ่อนนุช รัชดาภิเษก พร้อมพงษ์ ทองหล่อ เอกมัย ห้าแยกลาดพร้าว รัชโยธิน

ขณะที่ราคาคอนโดมิเนียมเติบโตขึ้นอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 1.4-1.5 แสนบาท/ตารางเมตร เนื่องจากราคาที่ดินสูงขึ้น โดยที่ราคาที่ดินปรับตัวเพิ่มขึ้น 10-20% ต่อปี ทำให้ราคาคอนโดมิเนียมเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 9-10% ต่อปี ซึ่งถือเป็นอุปสรรคใหญ่ของตลาดอสังหาริมทรัพย์

ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา มีคอนโดมิเนียมเปิดตัวใหม่สูงที่สุดในรอบหลาย ๆ ปี เป็นผลมาจากผู้บริโภคชะลอการซื้อในช่วงงานพระราชพิธีฯ ทำให้หลาย ๆ โครงการมียอดจอง ยอดโอน โตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะโตต่อเนื่องไปจนถึงปี 2561

ตลาดคอนโดฯ โตต่อเนื่องจนถึงปี 61

ตลาดคอนโดฯ โตต่อเนื่องจนถึงปี 61

แนวราบที่ดินหายาก-สินเชื่อเข้มงวด
นายวสันต์ เคียงสิริ อุปนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยว่า ตลอด 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2560 ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบอยู่ที่ประมาณ 60,000 หน่วย ในขณะที่มีโครงการเปิดใหม่ประมาณ 30,000 หน่วย แสดงให้เห็นว่ามียอดโอนมากกว่าถึง 2 เท่าของโครงการเปิดใหม่ จากจำนวนยูนิตทั้งตลาดที่เหลืออยู่ประมาณ 78,000 หน่วย จึงไม่น่าห่วงเรื่องภาวะซัพพลายล้นตลาด

สาเหตุที่โครงการใหม่เกิดขึ้นน้อย เนื่องจากที่ดินที่จะนำมาพัฒนาโครงการแนวราบหาได้ค่อนข้างยาก ส่วนใหญ่อยู่รอบนอกวงแหวนและปริมณฑลทั้งหมด ใจกลางเมืองแทบไม่มีเลย เนื่องจากราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 70-80% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ผู้ที่มีเงินเดือนประจำมีรายได้สูงขึ้นไม่เกิน 20% ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยแนวราบ โดยเฉพาะบ้านเดี่ยวได้ ส่งผลให้ต้องไปอยู่บริเวณชานเมือง หรือเลือกโครงการบ้านแฝดที่ยังมีระดับราคาประมาณ 3 ล้านกว่าบาทแทน อีกสาเหตุหนึ่งคือผังเมืองกรุงเทพฯ ฉบับใหม่ มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินมากกว่าเดิม ทำให้ที่ดินในกรุงเทพฯ กว่าครึ่งหนึ่ง ไม่สามารถพัฒนาโครงการทาวน์เฮ้าส์ได้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพูดคุย แก้ไข เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้มากขึ้น

ปัจจัยที่น่าจับตามองอีกอย่างหนึ่งคือ สินเชื่อที่อยู่อาศัยมีความเข้มงวดมากขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2559 จนถึงกลางปี 2560 ทำให้ยอดปฏิเสธสินเชื่อสูงถึง 60-70% แต่จากไตรมาส 3 ที่ผ่านมาสถานการณ์ดีขึ้นมียอดปฏิเสธสินเชื่อเหลือเพียง 30% แต่ยังถือว่าสูงกว่าในอดีตที่อยู่ที่เพียง 20% แต่ในปีหน้าคาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้นกว่านี้เมื่อสถาบันการเงินผ่อนคลายมากขึ้น

ในปี 2561 คาดว่าภาพรวมเศรษฐกิจจะเติบโตอยู่ในช่วง 4% ต่อเนื่องไปอีก 3-5 ปี การลงทุนที่ส่งผลต่อตลาดมากที่สุดคือการลงทุนภาครัฐ แต่กว่าจะเห็นผลกลับมาสู่กำลังซื้อในภาคอสังหาริมทรัพย์คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะ โดยเชื่อว่าตลาดไม่น่าจะต่ำไปกว่านี้แล้ว เนื่องจากยังมีปัจจัยบวกในเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ยังต่ำอยู่ และกำลังซื้อสะสมที่ชะลอการซื้อจากการถูกปฏิเสธสินเชื่อ หรือไม่มั่นใจในสภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งมาตรการสินเชื่อที่ผ่อนคลายลง

https://www.ddproperty.com


ดอกเบี้ยโลก‘ขาขึ้น’ โจทย์ท้าทายนโยบายการเงินไทย

ทิศทางนโยบายการเงินโลกกำลังเปลี่ยนทิศกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หรือ Policy Normalization หลังจากที่หลายประเทศเลือกใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและดอกเบี้ยต่ำมาเป็นเวลานานหลายปี เพื่อดูแลเศรษฐกิจนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินโลก

แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น เศรษฐกิจของหลายประเทศมีการเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน วัฏจักรเศรษฐกิจกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้ง ดังนั้นนโยบายการเงินที่ต่ำมานานก็ควรต้องกลับเข้าสู่ภาวะปกติเช่นกัน

โดยสหรัฐฯ ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ได้เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาสักระยะหนึ่งแล้ว และคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ “เฟด” จะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมนัดสุดท้ายของปีช่วงวันที่ 12-13 ธ.ค.นี้ อีกทั้งปีหน้าเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยอีก 3 ครั้ง ภายใต้การนำของประธานเฟดคนใหม่ “เจอโรม พาวเวลล์”

นอกจากนี้ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีธนาคารกลาง 3 ประเทศ เริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปบ้างแล้ว ได้แก่ แคนาดา อังกฤษ และเกาหลีใต้ ขณะเดียวกัน ตลาดยังคาดการณ์ว่า ในปีหน้า “มาเลเซีย” และ “ฟิลิปปินส์” อาจเป็นรายต่อไปที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ย ส่วนในฝั่งยุโรปปัจจุบันอยู่ในช่วงของการเตรียมลดวงเงิน “คิวอี” ซึ่งคาดว่าน่าจะหมดลงภายในสิ้นปีหน้า และมีโอกาสที่ธนาคารกลางยุโรป หรือ อีซีบี จะปรับขึ้นดอกเบี้ยภายในปี 2562-2563

จะเห็นได้ว่านโยบายการเงินของหลายประเทศเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ถือเป็นความท้าทายสำหรับประเทศไทยว่าการดำเนินนโยบายการเงินของไทยในระยะต่อไปจะเป็นอย่างไร โดย “ดอน นาครทรรพ” ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของโลกกำลังกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้ง แต่การปรับขึ้นดอกเบี้ยจะเป็นไปอย่างช้าๆ เพราะหลายประเทศยังค่อนข้างระมัดระวัง โดยพยายามดูว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแข็งแกร่งมากน้อยแค่ไหน

ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่ยังไม่ได้เร่งตัวขึ้นมากนัก ซึ่งปัจจุบันยอมรับว่าเงินเฟ้อมีการตอบสนองกับภาวะเศรษฐกิจน้อยลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านพลังงานมีที่แหล่งพลังงานจากชั้นหินดินดาน หรือ เชลล์ออยล์ ออกมามากขึ้น ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ด้านการค้าขายที่อีคอมเมิร์ซทำให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบราคาได้ง่าย ประกอบกับการค้าโลกทุกวันนี้ก็มีการเชื่อมโยงกันมากขึ้น

ดอน บอกว่า ความท้าทายในการดำเนินนโยบายการเงินของไทย สิ่งสำคัญที่สุด คือ “การสื่อสาร” เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักคิดว่ากรอบนโยบายการเงินของไทยใช้เงินเฟ้อเป็นเป้าหมายเพียงอย่างเดียว แต่ที่จริงแล้วนโยบายการเงินของไทยใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น หรือ Flexible Inflation Targeting ซึ่งไม่ได้ดูแค่เงินเฟ้อ แต่ต้องรักษาความสมดุลระหว่าง 3 วัตถุประสงค์ได้แก่ เงินเฟ้อ การขยายตัวของเศรษฐกิจ และเสถียรภาพของระบบการเงิน

ขณะที่ความท้ายทายอีกด้านหนึ่ง คือ การเชื่อมโยงนโยบายการเงินของไทยกับนโยบายการเงินของโลกที่ดอกเบี้ยกำลังเป็นขาขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย เช่น หากสหรัฐฯขึ้นดอกเบี้ยจนสูงกว่าไทย เงินทุนก็มีโอกาสไหลกลับไปที่สหรัฐฯ เพื่อไปหาผลตอบแทนที่สูงกว่า

“ถ้าดูแค่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย คนอื่นขึ้นแต่เราไปขึ้น สินทรัพย์ของเราก็จะมีความน่าสนใจน้อยลง เงินก็อาจจะไหลออกไปข้างนอกได้ แต่จริงๆแล้วปัญหาที่สำคัญของไทยตอนนี้ไม่ใช่เงินทุนไหลออก แต่เป็นเงินทุนไหลเข้า ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ถ้าไหลออกไปบ้างจะช่วยลดแรงกดดันด้านเงินบาทได้ ทำให้กำไรของผู้ส่งออกดีขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ดอน มองว่า ส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่างไทยกับสหรัฐฯหากอยู่ที่ระดับไม่เกิน 0.5% ยังไม่น่ากังวล แต่หากถึง 1% ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะถ้าหากเกิดความผันผวนในตลาดการเงินโลกขึ้นมาจะทำให้เงินทุนไหลออกได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม แรงกดดันหลักคงไม่ได้อยู่ที่การปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯเพียงแค่ประเทศเดียว เพราะสุดท้ายแล้วถ้าส่วนใหญ่ปรับขึ้นกันหมดก็จะเป็นปัจจัยให้เราต้องขึ้นตามไปด้วย

อีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้ กนง. ขึ้นดอกเบี้ยและยังเป็นเรื่องที่คณะกรรมการหลายท่านกังวล ก็คือการที่ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าดอกเบี้ยที่ต่ำมานานนั้นได้ไปสะสมความเสี่ยงในระบบการเงินตรงไหนบ้าง ดังนั้นการดำเนินนโยบายการเงินที่ดี จึงควรขึ้นดอกเบี้ยตั้งแต่ปัญหายังไม่เกิด

“การที่แบงก์ชาติจะขึ้นดอกเบี้ยต้องดูหลายองค์ประกอบด้วยกัน คือเงินเฟ้อต้องเข้ากรอบและทิศทางเป็นขาขึ้น รวมทั้งเรื่องความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ อย่างการกระจายตัวที่พูดกันเยอะ จริงๆแล้วการกระจายตัวนโยบายการเงินเข้าไปดูไม่ได้ ต้องใช้นโยบายการคลัง เรามองว่าอาจไม่ต้องให้มีการกระจายตัวอย่างทั่วถึงแล้วค่อยขึ้นดอกเบี้ย ขอแค่เศรษฐกิจโดยรวมเข้มแข็งพอที่จะไปได้ก็ขึ้นได้แล้ว ไม่ต้องรอให้การกระจายตัว 100%”

ดอน บอกว่าความท้าทายของธปท.ในระยะถัดไป คือ เรื่องการประเมินศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจว่าอยู่ที่ระดับเท่าไหร่ ซึ่งที่จริงแล้วเป็นสิ่งที่วัดไม่ได้ ต้องมีการใช้แบบจำลอง ต้องดูความร้อนแรงของภาวะเศรษฐกิจ การใช้กำลังการผลิต การใช้แรงงาน หลายๆปัจจัยประกอบกัน

ส่วนตัวมองว่าตัวเลขการขยายตัวที่ระดับ 4% ถือว่าน่าพอใจ อาจเรียกได้ว่าเต็มศักยภาพหรือเกินกว่าศักยภาพอยู่เล็กน้อยด้วย แต่ในอนาคตก็อยากให้เศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็งและมั่นคงมากกว่านี้ แต่อาจไม่ต้องถึงขั้นการกระจายตัวอย่างทั่วถึง ขอเพียงแค่เศรษฐกิจสามารถหล่อเลี้ยงตัวเองได้ก็น่าพอใจแล้ว ส่วนตัวเลขที่หลายหน่วยงานคาดการณ์กันไว้ที่ 5% คงจะได้เห็นเมื่อมีการปฎิรูปเศรษฐกิจและภายหลังการพัฒนาโครงการะเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี

“ความท้าทายของแบงก์ชาติคือพยายามวัดว่าศักยภาพของเราอยู่ตรงไหนกันแน่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ง่าย สิ่งที่กรรมการต้องจับตาในอนาคตก็คือแรงกดดันเงินเฟ้อ อย่างเช่นถ้าเรามองการเติบโตที่ 4% แต่ถ้าเงินเฟ้อพื้นฐานไม่ได้เร่งตัวขึ้นมาตาม ก็แสดงว่าสิ่งที่เราประเมินไว้อาจต่ำไป หรือถ้ามองว่าศักยภาพอยู่ที่ 5% แต่ตอนนี้ทำได้แค่ 4% ถ้าไปขึ้นดอกเบี้ยเลยก็คงไม่ได้”

ดอน บอกด้วยว่า ปัจจัยที่ต้องติดตามในปีหน้า คือ เงินเฟ้อจะเข้ากรอบเป้าหมายหรือไม่ และการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเป็นอย่างไร ขณะที่ปัจจัยในต่างประเทศยังเผชิญความเสี่ยงจากการกีดกันทางการค้า ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ และภาวะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวเกินคาด

ส่วนความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆนั้นก็ต้องจับตาเช่นกัน หลังหลายสินทรัพย์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งหากเกิดภาวะฟองสบู่ขึ้นจริงจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดเงินตลาดทุนโลก แต่ดูเหมือนว่าตอนนี้ตลาดการเงินโลกยังไม่ได้กังวลมากนัก เนื่องจากเงินเฟ้อในตลาดโลกยังค่อนข้างต่ำ แต่ในทางตรงกันข้ามหากเงินฟ้อโลกกระชากตัวขึ้นเร็วกว่าคาด และนำไปสู่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เร็วขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ฟองสบู่แตกขึ้นได้

http://www.bangkokbiznews.com


เวิลด์แบงก์เผย ไทยหลุดพ้นความยากจน ก้าวสู่ความมั่งคั่ง

เวิลด์แบงก์เผยรายงาน ไทยหลุดพ้นความยากจน ก้าวสู่ความมั่งคั่ง

ธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ ได้เปิดเผยถึงรายงานแนวโน้มการเติบโตแบบมีส่วนร่วมของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในระยะยาว ชื่อ Riding the Wave: An East Asian Miracle for the 21st Century ซึ่งพบว่า ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกเป็นผู้นำที่แสดงวิธีให้เห็นว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วและการมีส่วนร่วมในทางเศรษฐกิจจะช่วยลดความยากจนอย่างชัดเจนได้ ซึ่งช่วยให้คนเกือบล้านคนได้หลุดพ้นจากความยากจน โดยในรายงานระบุว่าประเทศไทยซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับมาเลเซีย ได้เริ่มหลุดพ้นจากความยากจน และกำลังก้าวสู่ความมั่งคั่ง

คนไทยอีก 5.8 ล้านคนยังไม่พ้นความยากจน
สถานการณ์ความยากจนของประเทศไทยในปัจจุบันใช้เส้นความยากจนที่เป็นทางการคือ 2,667 บาท/คน/เดือน หากมองย้อนไปในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาความยากจนในภาพรวมของประเทศไทยลดลงมาก โดยจำนวนคนจนได้ลดลงประมาณ 28 ล้านคนในช่วงเวลาดังกล่าว จากจำนวนผู้ยากจน 34.1 ล้านคนในปี 2531 เหลือเพียง 5.8 ล้านคนในปี 2559 สัดส่วนคนจนลดลงจากร้อยละ 65.2 เป็นเพียงร้อยละ 8.6 ในปี 2559

หากพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า กลุ่มประชากร 40% ที่มีรายได้ต่ำสุดในประเทศไทย ในจำนวนนี้ 38.7% เป็นคนจน และคนที่เกือบจนซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการตกเป็นคนจนได้ง่าย โดยพบว่า มีแนวโน้มลดลงมากจาก 39.2 ล้านคนในปี 2531 เหลือเพียง 11.6 ล้านคนในปี 2559

ทั้งนี้ ความยากจนยังกระจุกตัวอยู่ในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12.96% ภาคใต้ 12.35% และภาคเหนือ 9.83% ของประชากรในแต่ละภาค โดยจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด 10 ลำดับแรกในปี 2559 ได้แก่ แม่ฮ่องสอน นราธิวาส ปัตตานี กาฬสินธุ์ นครพนม ชัยนาท ตาก บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ และน่าน ตามลำดับ

สถานการณ์ความยากจนของประเทศไทย

สถานการณ์ความยากจนของประเทศไทย

แก้จนด้วยเศรษฐกิจยั่งยืน-ลดความเหลื่อมล้ำ
นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า จากรายงานฉบับดังกล่าวได้นำเสนอโมเดลใหม่ในการแก้ปัญหาความยากจนด้วยการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาลที่บรรจุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ซึ่งเน้นการเติบโตอย่างทั่วถึงและลดความเหลื่อมล้ำ

โดยรัฐบาลได้พยายามแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสามารถลดความยากจนได้ต่อเนื่อง จำนวนประชากรที่อยู่ใกล้เส้นความยากจน 11 ล้านคน ลดลงมาต่อเนื่องในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาจนเหลือจำนวน 7 ล้านคน แต่ยังมีประชากรฐานรากระดับล่าง ประมาณ 29 ล้านคน หรือประมาณ 40% ของประชากรทั้งหมด ต้องได้รับการดูแลด้วยการเพิ่มรายได้ ซึ่งประกอบด้วยเกษตรกร แรงงาน ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งรัฐบาลจะใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค เพิ่มรายได้ เพิ่มการจ้างงาน และเพิ่มหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชน คู่ขนานกับการสนับสนุนให้ประชาชนออมเงินผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ และกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติรองรับผู้สูงอายุ

นอกจากนี้ สภาพัฒน์ ยังได้พิจารณาตัวชี้วัดสถานการณ์ความยากจนในด้านมิติอื่นที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของตัวเงิน แต่สะท้อนการมีโอกาสทางสังคม และการเข้าถึงบริการของภาครัฐ มาร่วมในการวัดด้วย ได้แก่ “ดัชนีความก้าวหน้าคน” ซึ่งเป็นดัชนีที่สะท้อนการเข้าถึงโอกาสทางสังคม และการเข้าถึงบริการภาครัฐในด้านต่าง ๆ เช่น สุขภาพ การศึกษา ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม และคมนาคมและการสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความจนเงิน จนโอกาส และสภาพแวดล้อมการดำเนินชีวิต ในการจัดทำนโยบายในแก้ปัญหาความยากจน และช่วยเหลือคนจน

ถือเป็นข่าวดีของประเทศไทยที่กำลังก้าวผ่านความยากจน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าผลสำรวจกับในชีวิตจริงของประชาชนจะสอดคล้องกันหรือไม่ แต่จากความพยายามของภาครัฐ อาทิ การใช้โนบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน 11.4 ล้านคน การส่งเสริมการฝึกอาชีพ การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ การช่วยเหลือธุรกิจ SMEs และกลุ่มเกษตรกร รวมถึงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ก็ได้แต่หวังว่าจะเห็นผลในไม่ช้า

https://www.ddproperty.com


ประกันสังคม เปิดสายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

ประกันสังคม เปิดสายด่วน 1506 พร้อมช่องทางออนไลน์บริการเต็มรูปแบบ ให้คำปรึกษาสอบถามข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง

นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า วันนี้ (13 ธ.ค.) สายด่วน 1506 เปิดให้บริการแก่นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน เต็มรูปแบบแล้ว ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง คอยตอบข้อซักถามปัญหาประกันสังคมและรับเรื่องร้องเรียนผ่านทางโทรศัพท์พูดคุยกับเจ้าหน้าที่โดยตรง

รวมถึงการติดต่อผ่านทางอินเตอร์เน็ตคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งสามารถโต้ตอบข้อสอบถามได้ทันทีโดยการแชทกับเจ้าหน้าที่ อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการรับเรื่องร้องทุกข์ เพื่อประสานงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ประกันตนในเรื่องนั้นๆ

นอกจากนี้ สำนักงานประกันสังคม ยังอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกันตน โดยจัดให้มีช่องทางในการติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมได้ในช่องทางต่างๆได้แก่ ช่องทางออนไลน์ ได้แก่ Website ประกันสังคม, ช่องทาง Social media ได้แก่ Facebook /ssofanpage พร้อมระบุว่า สำนักงานประกันสังคม ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการที่เป็นเลิศ โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเข้ามามีส่วนในการให้บริการ

https:news.mthai.com

นิทานเซน : ได้อย่างเสียอย่าง

《禅言过失》

ยังมีชายหนุ่มผู้หนึ่งที่นับได้ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เขาพยายามศึกษาหาความรู้ในศาสตร์หลายๆ แขนง แต่ทว่าในอาชีพการงานกลับมีความสำเร็จเพียงระดับหนึ่ง ไม่สามารถที่จะเจริญก้าวหน้าไปถึงยังจุดที่ตนเองหวังไว้ได้ เขาขบคิดไม่เข้าใจว่าเป็นเพราะเหตุใด จึงได้ไปขอคำชี้แนะจากอาจารย์เซน

เมื่ออาจารย์เซนได้รับฟังปัญหาของชายหนุ่ม กลับไม่เอื้อนเอ่ยอันใดออกมา เพียงแต่เชื้อเชิญให้ชายหนุ่มรับประทานอาหารเจด้วยกันที่วัด บนโต๊ะเรียงรายไว้ด้วยอาหารเจละลานตานับร้อยชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ชายหนุ่มไม่เคยพบเห็นมาก่อน เขาจึงได้พยายามลิ้มลองอาหารเหล่านั้นให้ครบทุกอย่าง ต่อเมื่อรับประทานครบ จึงค่อยวางตะเกียบและรู้สึกว่าตนเองอิ่มเกินไป

อาจารย์เซนถามว่า “อาหารที่ท่านรับประทานลงไปนั้นมีรสชาติเช่นไรบ้าง?”
ชายหนุ่มตอบด้วยความลำบากใจว่า “มีรสชาติร้อยพัน ยากที่จะจำแนกแยกแยะ สุดท้ายรู้สึกแค่เพียงว่ากระเพาะขยายอย่างยิ่ง”
อาจารย์เซนถามต่อไปว่า “เช่นนั้นแปลว่าท่านรู้สึกสบายดีและพอใจใช่หรือไม่?”
ชายหนุ่มตอบว่า “มิใช่ กลับทรมานอย่างยิ่ง”
เมื่ออาจารย์เซนได้ฟัง ก็เพียงแต่ยิ้มเล็กน้อย ไม่พูดจา

วันต่อมาอาจารย์เซนชวนชายหนุ่มปีนขึ้นไปบนยอดเขา แต่เมื่อทั้งสองปีนขึ้นไปถึงกลางทาง ชายหนุ่มได้พบกับหินคริสตัลสีสดสวยแวววาวมากมาย จึงเกิดความอยากได้ และเก็บหินเหล่านั้นใส่ย่ามของตนจนเต็มแน่น แต่น้ำหนักของหินที่มากเกินไปทำให้เขาไม่สามารถปีนขึ้นไปต่อได้ ขณะเดียวกันก็ไม่อาจตัดใจทิ้งคริสตัลเหล่านั้น

ขณะที่ยืนลังเลอยู่กลางทางนั้นเอง อาจารย์เซนจึงได้กล่าวขึ้นว่า “ท่านควร “วางลง” ได้หรือยัง? มิเช่นนั้นจะขึ้นไปถึงจุดสูงสุดได้อย่างไร?”

เมื่อชายหนุ่มได้ฟัง ก็พลันกระจ่างแจ้งในใจ สองมือวางก้อนหินเหล่านั้นลง พลางป่ายปีนขึ้นไปถึงยอดภูสูงได้สำเร็จ จากนั้นจึงกราบลาอาจารย์เซนเดินทางกลับ เมื่อเวลาผ่านไปอีกหลายปี ชายหนุ่มก็ประสบความสำเร็จดังที่มุ่งหวังไว้

ปัญญาเซน : รับประทานอาหารก็ดี ปีนเขาก็ดี การศึกษาหาความรู้ก็ดี ขณะที่ได้มาซึ่งสิ่งใด ย่อมต้อง สูญเสียสิ่งหนึ่งไปเสมอ บนเส้นทางชีวิตมนุษย์ไม่สามารถครอบครองทุกอย่าง ยังคงมีหลายอย่างที่จำต้องยอมสละละทิ้งเพื่อให้ได้มาซึ่งบางสิ่ง เมื่อเรียนรู้ที่จะ “วางลง” จึงค่อยเข้าใจถึงความสุข จึงค่อยรู้ซึ้งเมื่อ “ได้รับ” 

http://oknation.nationtv.tv


ราคาทองทุกชนิด ตามประกาศของสมาคมค้าทองคำ(Gold Traders Association) ประจำวันที่ 14/12/2560​

ชนิดความบริสุทธิ์ของทอง

ราคารับซื้อต่อกรัม

ราคารับซื้อ/บาท

ราคาขายออก/บาท

ทองคำแท่ง 96.5% n/a 19,300.00 19,400.00
ทองรูปพรรณ 96.5% 1,250.00 18,950.00 19,900.00
ทองรูปพรรณ 90% 1,125.00 17,055.00 n/a
ทองรูปพรรณ 50% 563.00 8,535.08 n/a
ทองรูปพรรณ 40% 438.00 6,640.08 n/a
ทองรูปพรรณ 99.99% 1,295.00 19,632.20 n/a

ราคาน้ำมัน  ประจำวันที่  14/12/2560

ราคาขายปลีมาตรฐาน ในเขต กทม. นนทบุรี
ปทุมธานี และสมุทรปราการ
หน่วย : บาท/ลิตร
ปตท. บางจาก เชลล์ เอสโซ่ ไออาร์พีซี / ทีพีไอ ภาคใต้เชื้อเพลิง ซัสโก้ ระยองเพียว ซัสโก้
ปตท
PTT
บางจาก
BCP
เชลล์
Shell
เอสโซ่
Esso
คาลเท็กซ์
C
altex
ไออาร์พีซี
IRPC
พีทีจี
เอนเนอยี่
PTG
ซัสโก้
Susco
ระยองเพียว
Pure
ซัสโก้ ดีลเลอร์
SUSCO Dealers
แก๊สโซฮอล 95 27.85 27.85 27.85 35.41 27.85
27.85
27.85
27.85
27.85
แก๊สโซฮอล E-20
25.34
25.34
25.34
25.34
25.34
25.34
25.34
25.34
25.34
แก๊สโซฮอล E-85 20.64 20.64 20.64 20.64
แก๊สโซฮอล 91 27.58 27.58 27.58 27.58 27.58 27.98 27.58 27.58 27.58 27.58
เบนซิน 95 34.96 35.41 35.46 34.96 34.96 34.96
ดีเซลหมุนเร็ว 26.39 26.39 26.39 26.39 26.39 26.39 26.39 26.39 26.39 26.39
ดีเซลหมุนเร็ว พรีเมียม 29.39 30.07 30.26 30.26 30.26
มีผลตั้งแต่ 08 Dec 05:00 08 Dec 05:00 08 Dec 05:00 08 Dec 05:00 10 Dec 05:00 08 Dec 05:00 08 Dec 05:00 08 Dec 05:00 08 Dec 05:00 08 Dec 05:00

 

 

Comments : Off
About the Author

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า