ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ อสังหาปี’61 เน้นเพลย์เซฟ กทม.-ปริมณฑลเปิดตัวใหม่ 1.08 แสนหน่วย โตจิ๊บจ๊อย 2%
1.แม้เศรษฐกิจในปี 2561 น่าจะฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เชื่อมั่น และเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ แต่ผู้ประกอบการยังเผชิญความท้าทายต่างๆ ประกอบกับการขยายตัวของจำนวนที่อยู่อาศัยคงค้าง ณ สิ้นปี 2560 กดดันให้ผู้ประกอบการเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยใหม่อย่างระมัดระวัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2561 น่าจะอยู่ที่ 100,000-108,000 หน่วย ขยายตัวร้อยละ 0-2 จากปี 2560
2.แม้ตลาดคอนโดมิเนียมระดับบนจะเป็นตลาดที่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยมีกำลังซื้อ และมีความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจในระดับต่ำ แต่ขนาดตลาดยังจำกัด ประกอบกับความต้องการคอนโดมิเนียมระดับบนได้ถูกดูดซับไปแล้วส่วนหนึ่ง ส่งผลให้การลงทุนพัฒนาคอนโดมิเนียมระดับบนในปี 2561 ควรเป็นไปอย่างระมัดระวัง
3.สำหรับตลาดที่อยู่อาศัยระดับกลาง ยังคงเป็นตลาดที่ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้ความสำคัญ เนื่องจากมีฐานผู้ซื้อที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ โดยกลยุทธ์ในการลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยระดับกลางเป็นการให้ความสำคัญกับการสรรหาทำเลที่เหมาะสม รวมถึงมีการออกแบบฟังก์ชันการอยู่อาศัยที่ครบถ้วน
4.ในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยระดับล่างน่าจะชะลอตัว ส่งผลให้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชะลอการลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยระดับล่าง ควบคู่กับเร่งทำการตลาดเพื่อระบายที่อยู่อาศัยคงค้าง
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในปี 2561 น่าจะฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยังเผชิญความท้าทาย ทั้งการแข่งขันในตลาดที่ยังคงเป็นไปอย่างรุนแรง และความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยยังมีจำกัด โดยกลยุทธ์ของผู้ประกอบการในปี 2561 น่าจะเป็นการลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยตามพื้นที่เส้นทางขนส่งมวลชน
ในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2560 ยังไม่มีปัจจัยหนุนให้เกิดความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์น่าจะชะลอการเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ เมื่อเทียบกับในช่วง 9 เดือนแรกของปี และหันมามุ่งให้ความสำคัญกับการขายที่อยู่อาศัยคงค้างด้วยการจัดโปรโมชั่นกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย เช่น การมอบส่วนลดเงินสด ของแถม หรือบัตรกำนัล การขายที่อยู่อาศัยทุกยูนิตในราคาเดียว เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การจัดโปรโมชั่นยังไม่สามารถกระตุ้นความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยได้อย่างเต็มที่ จึงส่งผลให้ที่อยู่อาศัยคงค้าง ณ สิ้นปี 2560 ขยายตัว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จำนวนที่อยู่อาศัยคงค้างในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ณ สิ้นปี 2560 น่าจะอยู่ที่ 170,000-177,000 หน่วย ขยายตัวร้อยละ 4-8 จาก ณ สิ้นปี 2559
สำหรับในปี 2561 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้เศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวต่อเนื่อง นับเป็นสัญญาณที่ดีต่อตลาดที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เชื่อมั่น และเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ แต่ทิศทางการแข่งขันในตลาดที่อยู่อาศัยยังคงเป็นไปอย่างรุนแรง เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในปี 2561 ยังมีจำกัด ทั้งกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง ที่แม้กำลังซื้อค่อยๆ ฟื้นตัว แต่ก็เผชิญข้อจำกัดด้านราคาที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่อยู่ในระดับสูง รวมถึงกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุน ที่น่าจะชะลอการลงทุนในที่อยู่อาศัยลง เนื่องจากการแข่งขันในตลาดให้เช่าที่อยู่อาศัยเป็นไปอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดคอนโดมิเนียมให้เช่า
นอกจากนี้ การขยายตัวของจำนวนที่อยู่อาศัยคงค้าง ณ สิ้นปี 2560 ยังเป็นปัจจัยกดดันให้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตั้งเป้าหมายการขยายตัวของการเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในปี 2561 อย่างระมัดระวัง และอาจปรับแผนการเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ระหว่างปีอย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ในตลาดที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนแปลงไป
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2561 น่าจะยังคงไม่ต่ำกว่า 100,000 หน่วย โดยคาดว่าอยู่ที่ 100,000-108,000 หน่วย ขยายตัวร้อยละ 0-2 จากปี 2560 และน่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับสองปีที่ผ่านมา
โดยการขยายตัวของจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขยายตัวของจำนวนที่อยู่อาศัยกลุ่มคอนโดมิเนียม ซึ่งข้อจำกัดด้านพื้นที่สำหรับการลงทุนพัฒนาโครงการแนวราบ ประกอบกับความคืบหน้าของโครงการส่วนต่อขยายสถานีรถไฟฟ้า น่าจะดึงดูดให้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยังคงเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียมในปี 2561
ทั้งนี้ จำนวนที่อยู่อาศัยคงค้างที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ต้องจับตาการปรับแผนการเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ และความสามารถในการระบายที่อยู่อาศัยคงค้างระหว่างปีของผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดว่าจำนวนที่อยู่อาศัยคงค้าง ณ สิ้นปี 2561 จะยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องจาก ณ สิ้นปี 2560 หรือไม่
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนพัฒนาและการขายที่อยู่อาศัยปี 2561 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า กลยุทธ์ของผู้ประกอบการน่าจะยังเป็นการลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยตามพื้นที่เส้นทางขนส่งมวลชน โดยความคืบหน้าของการขยายเส้นทางโครงการขนส่งมวลชน อย่างส่วนต่อขยายสถานีรถไฟฟ้า เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ๆ ให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ โดยผู้ประกอบการปรับกลยุทธ์การลงทุนพัฒนาและการขายที่อยู่อาศัยแตกต่างกันตามเซ็กเมนต์
ขณะเดียวกัน พบว่า ความต้องการคอนโดมิเนียมระดับบนถูกดูดซับไปแล้วส่วนหนึ่ง ผู้ประกอบการขยายตลาดผู้ซื้อที่อยู่อาศัยแตกต่างกันตามเซ็กเมนต์ โดยในปี 2560 ตลาดที่อยู่อาศัยระดับบนเริ่มเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หันมาสร้างความแตกต่างให้กับโครงการที่อยู่อาศัยระดับบน ทั้งกลุ่มคอนโดมิเนียม และโครงการแนวราบ ด้วยการลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากขึ้น โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยออกแบบ ก่อสร้าง และอำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านที่อยู่อาศัย (Prop Tech) เช่น การสร้างบ้านอัจฉริยะที่มีเซ็นเซอร์หรือควบคุมและสั่งการระบบต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต การพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัย การพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆ สำหรับให้บริการผู้อยู่อาศัย เป็นต้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2561 ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีที่ดินในทำเลศักยภาพ อย่างใจกลางเมือง และศูนย์กลางธุรกิจ สามารถเลือกลงทุนพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมระดับบนในรูปแบบ Mixed-use Project ที่ประกอบด้วยคอนโดมิเนียม และอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ เช่น อาคารสำนักงาน โรงแรม ศูนย์การค้า เป็นต้น เพื่อสร้างรายได้ระยะยาวในรูปแบบค่าเช่าพื้นที่เพิ่มเติม นอกเหนือจากรายได้จากการขายคอนโดมิเนียมเพียงอย่างเดียว โดยความน่าสนใจของโครงการคอนโดมิเนียมระดับบนในรูปแบบ Mixed-use Project น่าจะสามารถดึงดูดทั้งกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง และกลุ่มผู้ซื้อเพื่อการลงทุนได้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้ตลาดที่อยู่อาศัยระดับบนจะเป็นตลาดที่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยมีกำลังซื้อ และมีความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจในระดับต่ำ แต่ขนาดตลาดยังจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดผู้ซื้อที่อยู่อาศัยชาวไทย ประกอบกับความต้องการคอนโดมิเนียมระดับบนได้ถูกดูดซับไปแล้วส่วนหนึ่งในปี 2560 ส่งผลให้การลงทุนพัฒนาคอนโดมิเนียมระดับบนในปี 2561 ควรเป็นไปอย่างระมัดระวัง
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อาจขยายตลาดผู้ซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มเติมแตกต่างกันตามเซ็กเมนต์คอนโดมิเนียมระดับบน ทั้งคอนโดมิเนียมระดับบนทั่วไป ที่ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ยังมีโอกาสขยายตลาดไปยังกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุน รวมถึงคอนโดมิเนียมระดับ Super Luxury ที่ยังมีศักยภาพในการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยชาวต่างชาติ โดยผู้ประกอบการที่มีพันธมิตรเป็นผู้ประกอบการชาวต่างชาติน่าจะมีข้อได้เปรียบ เนื่องจากสามารถอาศัยความน่าเชื่อถือ และช่องทางการทำการตลาดของพันธมิตร เจาะตลาดผู้ซื้อที่อยู่อาศัยชาวต่างชาติได้มากขึ้น
ในส่วนของกลยุทธ์โครงการแนวราบระดับบนในปี 2561 ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์น่าจะยังคงให้ความสำคัญกับการลงทุนพัฒนาโครงการที่มีจำนวนหน่วยไม่มาก โดยให้ความสำคัญกับการเลือกทำเล แม้ไม่ติดกับพื้นที่เส้นทางขนส่งมวลชน เนื่องจากเผชิญข้อจำกัดด้านพื้นที่สำหรับการลงทุนพัฒนาโครงการแนวราบ แต่ก็อยู่ติดถนนใหญ่หรือใกล้ทางด่วน ซึ่งเชื่อมต่อเข้าสู่เมืองได้โดยสะดวก
ในด้านตลาดที่อยู่อาศัยระดับกลาง น่าจะยังคงเป็นตลาดที่ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้ความสำคัญ เนื่องจากมีฐานผู้ซื้อที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ โดยผู้ซื้อที่อยู่อาศัยระดับกลางให้ความสำคัญกับทำเล และความคุ้มค่าเป็นหลัก
ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า กลยุทธ์ในการลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยระดับกลางในปี 2561 น่าจะเป็นการให้ความสำคัญกับการสรรหาทำเลที่เหมาะสม แม้ไม่ได้อยู่ติดกับพื้นที่เส้นทางขนส่งมวลชน แต่ก็สามารถเดินทางได้หลายวิธี หรือสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนได้ไม่ยากนัก รวมถึงมีการออกแบบฟังก์ชันการอยู่อาศัยที่ครบถ้วน เพื่อตอบโจทย์ด้านความคุ้มค่า
ทั้งนี้ กลยุทธ์การขายโครงการคอนโดมิเนียมระดับกลางในปี 2561 อาจเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่เริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงาน ที่ยังไม่มีภาระในการผ่อนชำระหนี้สิน และมองหาที่อยู่อาศัยหลังแรกเป็นของตนเอง ในขณะที่กลยุทธ์การขายโครงการแนวราบระดับกลาง อาจเจาะกลุ่มเป้าหมายที่วางแผนขยายครอบครัว รวมถึงกลุ่มวัยทำงานที่มีรายได้มากขึ้นและอยากขยับจากการอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียม มาเป็นทาวน์เฮ้าส์หรือบ้านเดี่ยว รวมถึงอาจนำเสนอจุดขายด้านพื้นที่ใช้สอยที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคอนโดมิเนียม เช่น การวางแปลนที่อยู่อาศัยที่สามารถดัดแปลงหรือต่อเติมได้ เป็นต้น
ส่วนตลาดที่อยู่อาศัยระดับล่างในปี 2561 น่าจะชะลอตัวต่อเนื่องจากในปี 2560 เนื่องจากเป็นตลาดที่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยมีโอกาสถูกปฏิเสธสินเชื่อ และมีความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจในระดับสูง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2561 ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์น่าจะชะลอการลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยระดับล่าง ในขณะเดียวกัน ก็น่าจะยังคงต้องเร่งทำการตลาดเพื่อระบายที่อยู่อาศัยคงค้าง ทั้งโครงการแนวราบ และคอนโดมิเนียมควบคู่กันไป โดยราคาที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชานเมืองที่ปรับตัวสูงขึ้นจากความคืบหน้าของการขยายเส้นทางโครงการขนส่งมวลชน น่าจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อที่อยู่อาศัยระดับล่าง ที่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยยังให้ความสำคัญกับราคาเป็นหลัก
http://www.bkkcitismart.com
การเคหะฯ เปิดโครงการ “บ้านแลกบ้านประชารัฐ” พร้อมสินเชื่อกว่า 5 พันล้าน
จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ผู้มีรายได้น้อยผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ล่าสุด การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ได้เดินหน้าที่จะพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องตามแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (2559-2579) ที่กำหนดกรอบในการสร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้ให้ได้ 2,271,080 หน่วย กับโครงการ “บ้านแลกบ้านประชารัฐ” นำบ้านขนาดเล็กมาแลกบ้านใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม หรือบ้านที่มีราคาสูงกว่า พร้อมเตรียมจัดตั้งกองทุนกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงสินเชื่อบ้าน
รายละเอียดเบื้องต้น “บ้านแลกบ้าน”
โครงการ “บ้านแลกบ้านประชารัฐ” ในเบื้องต้นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนนำบ้านเอื้ออาทร มาแลกกับบ้านของ กคช. ด้วยกัน ซึ่งส่วนต่างของราคา กคช. จะเป็นสื่อกลางติดต่อสถาบันการเงิน อาทิ ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้า โดยมีหลักทรัพย์เป็นตัวค้ำประกัน หรือบ้านเอกชนแลกกับบ้าน กคช. ซึ่งจะส่งผลดีในการช่วยลดซัพพลายที่เหลืออยู่เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกัน กคช. ซึ่งมีหน่วยการซ่อมบ้าน สามารถปรับปรุงบ้านที่นำมาแลกให้มีสภาพสมบูรณ์ และจำหน่ายให้กับตัวแทนขายหรือโบรกเกอร์ เพื่อขายหรือให้เช่าต่อได้ด้วย
โครงการ “บ้านแลกบ้านประชารัฐ”
เตรียมกองทุนกว่า 5 พันล้าน ช่วยเหลือหากกู้ไม่ผ่าน
สำหรับเงินส่วนต่างของราคาบ้าน หากไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน กคช. จะนำโมเดลทางการเงินสมัยใหม่เข้ามาใช้ในดำเนินงาน โดยจัดตั้งเป็นกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย คือ ให้ลูกค้ายื่นกู้ขอสินเชื่อกับ กคช. โดยตรงในลักษณะการเช่าซื้อ และในระหว่างที่ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ กคช. จะจัดโครงการอบรมสร้างวินัยทางการเงินให้กับลูกค้า เมื่อลูกค้ามีวินัยการเงินที่ดี ส่งค่างวดครบภายในเวลาที่กำหนด กคช. จะผลักดันเข้าสู่ระบบสินเชื่อของสถาบันการเงินอีกครั้ง วิธีนี้จะทำให้ลูกค้าสามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้
กองทุนดังกล่าวเบื้องต้นกำหนดวงเงินลงทุนไว้ที่ 5,200 ล้านบาท จะสามารถช่วยเหลือให้ผู้มีรายได้น้อยประมาณ 1.2 แสนครัวเรือน มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ ซึ่งเมื่อลูกค้ามีความพร้อมเข้าสู่ระบบสถาบันการเงิน กคช. จะได้รับคืนเงินกู้ ซึ่งจะเพิ่มการหมุนรอบของกองทุนได้ถึง 10 รอบ หรือปล่อยสินเชื่อได้กว่า 50,000 ล้านบาท ทั้งนี้ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ลูกค้าที่ซื้อบ้านของ กคช. และขอเงินกู้จากสถาบันการเงิน จะมีอัตราถูกปฏิเสธสินเชื่อประมาณ 50% แต่ก็มีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง
โมเดลนี้นอกจากจะช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองแล้วยังช่วยให้ กคช. มีสภาพคล่อง และมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง โดยตั้งเป้าในปีงบประมาณ 2561 จะมีกำไรประมาณ 2,000 ล้านบาท ขณะนี้กองทุนดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของ กคช. แล้ว อยู่ระหว่างปรับปรุงรายละเอียดให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คาดว่าจะนำเสนอรายละเอียดการจัดตั้งกองทุนฯ ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ภายในเดือนธันวาคม 2560 ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
https://www.ddproperty.com
ผลสำรวจชี้ภาพรวมไทยรองโหล่ รั้งท้ายด้านสิ่งแวดล้อม-การศึกษา
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทางสภาปัญญาสมาพันธ์ได้เผยผลงานวิจัย เรื่อง “การพัฒนาดัชนีประสิทธิผลระหว่างประเทศ” เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการพัฒนาประเทศของไทยกับอีก 5 ประเทศในอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน โดยทำการเปรียบเทียบการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างครอบคลุม โดยพบว่า ในภาพรวมไทยทำได้ไม่ดีนักอยู่อันดับที่ 5 จาก 6 ประเทศในอาเซียน
ภาพรวมไทยคะแนนประสิทธิผลเกือบต่ำสุด
เนื่องจากกลุ่มอาเซียนเป็นเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้และมีบทบาทอันสำคัญมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ในการเชื่อมโยงประเทศไทยในด้านการค้า ทางสภาปัญญาสมาพันธ์จึงได้ทำการเปรียบเทียบประสิทธิผลเพื่อให้ทราบว่าประเทศต่าง ๆ เหล่านี้เมื่อเปรียบเทียบกับไทยแล้วอยู่ในสถานะใด โดยจากผลงานวิจัยแบ่งออกเป็น
ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ หมวดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หมวดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และหมวดความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ
ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ หมวดสิ่งแวดล้อม และหมวดทรัพยากรธรรมชาติ
ด้านการศึกษา ได้แก่ หมวดการเข้าถึงการศึกษา และหมวดคุณภาพการศึกษา
ด้านสุขภาพ ได้แก่ หมวดสุขภาพกาย และหมวดสุขภาพจิต
ด้านความปลอดภัย ได้แก่ หมวดอุบัติเหตุ และหมวดอาชญากรรม
ด้านความมั่นคง ได้แก่ หมวดความมั่นคงภายใน และหมวดความมั่นคงภายนอก
ด้านการทำงานของภาคส่วน ได้แก่ หมวดการดำเนินงานของภาครัฐ และหมวดการดำเนินงานของภาคเอกชน
โดยพบว่า ประสิทธิผลในภาพรวมประเทศ อันดับที่ 1 คือ มาเลเซีย คะแนนประสิทธิผลอยู่ที่ 42% อันดับที่ 2 สิงคโปร์ 39% อันดับที่ 3 ฟิลิปปินส์ 38.6% อันดับที่ 4 อินโดนีเซีย 34.5% อันดับที่ 5 ไทย 27.3% และอันดับที่ 6 บรูไน 16.3% ซึ่งเหตุผลที่มาเลเซียได้อันดับที่ 1 เนื่องจากมีการพัฒนาปรับปรุงในด้านการศึกษาและสุขภาพ ขณะที่ประเทศไทย ยังมีปัญหาในด้านการศึกษาการขาดโอกาส และความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่นเดียวกับเรื่องของความปลอดภัย อุบัติเหตุการตายบนท้องถนน
ปัจจัยน่าห่วงสิ่งแวดล้อม-การศึกษา
เมื่อพิจารณาจากการเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างประเทศด้านต่าง ๆ พบว่า มีหลายด้านที่ไทยอยู่ในอันดับท้าย ๆ ได้แก่
ด้านสิ่งแวดล้อม หมวดสิ่งแวดล้อม ไทยอยู่อันดับท้ายสุดด้วยคะแนน 48.3% โดยหมวดทรัพยากรธรรมชาติ ไทยได้คะแนน 8.2% ห่างจากฟิลิปปินส์ที่อยู่ในอันดับที่ 1 ซึ่งได้คะแนน 100% อย่างมาก
ด้านการศึกษา ภาพรวมไทยอยู่อันดับท้ายสุด ได้คะแนนเพียง 11.7% ทิ้งห่างจากบรูไนที่ได้อันดับที่ 5 กว่าเท่าตัว โดยหมวดการเข้าถึงการศึกษา ไทยอยู่อันดับท้ายสุดเช่นกัน ได้คะแนนเพียง 23.5%
ด้านสุขภาพ ภาพรวมไทยอยู่อันดับที่ 3 ได้คะแนน 13.7% ต่ำกว่าอันดับที่ 1 อย่างมาเลเซีย ที่ได้คะแนน 52.1%และอันดับที่ 2 อย่างฟิลิปปินส์ ที่ได้คะแนน 50.8% ค่อนข้างมาก
ด้านความปลอดภัย ภาพรวมไทยอยู่อันดับที่ 3 ได้คะแนน 25.1% ต่ำกว่าอันดับที่ 1 อย่างสิงคโปร์ ที่ได้คะแนน 71.7% ค่อนข้างมาก เนื่องจากในหมวดอุบัติเหตุ ไทยได้คะแนนเพียง 9.1% ในขณะที่สิงคโปร์ได้คะแนน 81.9%
เสนอ 3 ประเด็นควรเร่งแก้ไข
สภาปัญญาสมาพันธ์ มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ใน 3 ประเด็น ได้แก่
1. ไทยควรให้ความสำคัญกับปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพราะเป็นด้านที่มีประสิทธิผลต่ำสุด ซึ่งส่งผลต่อภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ความยากลำบากในการดำเนินชีวิต และส่งผลต่อเศรษฐกิจผ่านเนื่องจากผลิตภาพแรงงานลดลง
2. ควรมียุทธศาสตร์ในการยกระดับคุณภาพและการเข้าถึงการศึกษาที่มีประสิทธิผล โดยเฉพาะการแก้ปัญหาในกลุ่มนักเรียนที่ขาดโอกาสและการลดความเหลื่อมล้ำ
3. ดำเนินการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดการสูญเสีย เนื่องจากไทยมีอัตราการตายจากอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงสุดในอาเซียน สูงกว่าประเทศที่เป็นรองคือเวียดนามถึง 32% และสูงกว่าสิงคโปร์ที่มีอัตราตายต่ำสุดในอาเซียนถึง 8.6 เท่า ขณะที่อัตราการตายจากอุบัติเหตุบนท้องถนนอยู่ที่ 31.7 คน/แสนประชากร หรือเฉลี่ยทุก ๆ 24 นาที จะมีคนตาย 1 คน
อย่างไรก็ตาม ยังพอมีข่าวดีอยู่บ้างเพราะด้านเศรษฐกิจ ในภาพรวมไทยอยู่อันดับที่ 2 รองจากอินโดนีเซีย โดยด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไทยอยู่อันดับที่ 2 รองจากฟิลิปปินส์ รวมถึงหมวดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ไทยอยู่อันดับที่ 4 รองจากสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ตามลำดับ และหมวดความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ไทยอยู่อันดับที่ 2 รองจากอินโดนีเซีย
https://www.ddproperty.com
5 วิธีคิดแบบ “แจ็ค หม่า” ผู้นำความสำเร็จของ “อาลีบาบา”
แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งอาลีบาบา อาณาจักรอี-คอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดของจีน และบุคคลที่รั้งตำแหน่งชายผู้มั่งคั่งสุดในแดนมังกร จากคนที่เพิ่งรู้จักอินเทอร์เน็ตในตอนอายุล่วงเข้าไป 30 กว่าปี ในวันนี้ หม่ากลายเป็นเจ้าของบริษัทที่ทำรายได้ 23,000 ล้านเหรียญในปีที่ผ่านมา ไปดูกันว่าผู้ชายคนนี้มีวิธีคิดอย่างไร เขาถึงสามารถสร้างความสำเร็จระดับโลกได้
1. People need to trust you
ทำตัวให้น่าเชื่อถือจากคนรอบข้าง ตั้งแต่พนักงานจนถึงนักลงทุน คนที่จะร่วมเสี่ยงไปกับเราจะต้องไว้ใจเรา หม่ากล่าวว่า Trust หรือความไว้เนื้อเชื่อใจคือส่วนประกอบสำคัญในการทำให้อาลีบาบาประสบความสำเร็จ
“ความไว้ใจทำให้เราสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว เป็นเพราะบรรดานักลงทุนเชื่อในตัวผม ผมจึงต้องซื่อสัตย์ต่อพวกเขา ซื่อสัตย์ในสิ่งที่กำลังทำ” การที่คนอื่นเชื่อในตัวหม่าและเชื่อในภารกิจที่บริษัทกำลังดำเนินถือเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุดที่เขามี มีค่ามากขนาดที่ว่าหากควักเงินมากกว่า 1 ล้านเหรียญซื้อความไว้ใจได้ เขาก็จะยอมควัก
2. Forget the competition. Focus on your customers
หม่าไม่เคยอนาทรร้อนใจกับการแข่งขันทางธุรกิจ ทุกสิ่งที่อาลีบาบาทำ ทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานว่าลูกค้าต้องการอะไร เหตุผลนั้นธรรมดามาก หากต้องการให้ธุรกิจอยู่รอดยั่งยืน ในการตัดสินใจใดๆ ความพึงพอใจของลูกค้าต้องมาเป็นอันดับแรก
“ถ้ามีลูกค้ามาบอกผมว่า แจ็ค! คุณควรต้องสร้างคลังสินค้าเพิ่ม เราก็จะสร้าง ไม่ใช่เพราะเรามีทุน แต่เพราะมันเป็นสิ่งจำเป็น” เมื่อถามว่าใครคือคู่แข่งของอาลีบาบา หม่าตอบว่าเขาไม่ทราบ “ในฐานะผู้ประกอบการ อย่ามองเพื่อนร่วมธุรกิจเป็นคู่แข่ง อย่าไปสนใจ ยิ่งถ้าเป็นบริษัทเล็กๆ เอาเวลาไปทำให้ลูกค้าพอใจจะดีกว่า”
3. Think of your business in global terms
สำหรับหม่า การมองธุรกิจต้องเผื่อไปถึงระดับโลก เขาเชื่อว่าธุรกิจแม้จะมีขนาดเล็กแต่ถ้าสามารถ “โก อินเตอร์” ก็จะอยู่รอดในระยะยาวและเครื่องมือที่ทำให้โกอินเตอร์ได้ก็คือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้นดุเดือดขึ้น
หากยังดำเนินธุรกิจแบบเดิมๆ ไม่มีการปรับตัว ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตหรือโซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นเครื่องมือ มีโอกาสสูงที่จะรั้งท้ายคนอื่น ดังนั้นต่อให้เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ก็ต้องหาวิธี ทำอย่างไรจึงจะขายทั่วโลกได้
4. Hire young and hire smart
“ตอนเรายังหนุ่มสาว ไม่ค่อยมีใครให้โอกาสเรา ถึงตอนนี้ เราควรให้โอกาสคนรุ่นใหม่ จะว่าไป คนหนุ่มไฟแรงที่ฉลาดเฉลียวทำงานได้ดีกว่าเราด้วยซ้ำ” หม่ากล่าวว่าการสร้างทีมที่ทำงานร่วมกันได้นานและการให้โอกาสแก่คนเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด
นั่นเป็นเหตุผลที่เขาเลือกจ้างลูกน้องที่ฉลาดกว่ามาทำงานให้เพราะรู้ว่าพนักงานที่เก่งเป็นถือสินทรัพย์และเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับองค์กร
5. Just keep going
เส้นทางของเขาในการปลุกปั้นอาลีบาบาคือ “เดินหน้าต่อไป” ถ้าไม่ถอดใจหรือล้มเลิกกลางคันโอกาสก็ยังมี แต่ถ้ายกธงยอมแพ้นั่นคือความล้มเหลวอย่างที่สุด ความเพียรความมานะบากบั่นเป็นสิ่งจำเป็น “วันนี้ว่ายากแล้ว พรุ่งนี้ยากยิ่งกว่า แต่ถ้าผ่านไปได้จากนั้นแล้วจะมีแต่สิ่งสวยงาม”
http://money.sanook.com
ไอบีเอ็มปักธงพลิกโฉมดิจิทัลไทย
ยักษ์ฟ้า “ไอบีเอ็ม” ตอกย้ำพันธกิจนำเทคโนโลยีเข้าสนับสนุนการเติบโตภาคธุรกิจไทย ชูเทคโนโลยีค็อกนิทิฟ-แพลตฟอร์มคลาวด์ ปักธงตลาดภาครัฐ การแพทย์ การศึกษา องค์กรธุรกิจ ตั้งเป้าหนุนองค์กรในไทยเปลี่ยนผ่านสู่ยุคใหม่บนดิจิทัล
นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ไอบีเอ็มเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยมากกว่า 65 ปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีส่วนต่อการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ และจากนี้ยังคงมุ่งสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจองค์กร งานวิจัยพัฒนา ผลักดันการก้าวสู่มิติใหม่บนดิจิทัล พร้อมขานรับนโยบายประเทศไทย4.0
ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ประกาศวิสัยทัศน์ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่ให้บริการโซลูชั่นด้านค็อกนิทิฟและแพลตฟอร์มคลาวด์เต็มตัว เพื่อสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ การเงิน การผลิต โทรคมนาคม และการแพทย์ ฯลฯ เปลี่ยนผ่านสู่ยุคใหม่ของเทคโนโลยีและธุรกิจ
2-3 ปีที่ผ่านมาได้ปรับองค์กรครั้งใหญ่ให้พร้อมพาธุรกิจก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ไปสู่ยุคใหม่ของเทคโนโลยีและธุรกิจ ที่เทคโนโลยีอย่างค็อกนิทิฟ คอมพิวติ้ง คลาวด์ และซิเคียวริตี้ รวมถึงแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่ จะทวีบทบาทสำคัญขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดของปริมาณข้อมูล โมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม เฉพาะปี 2560 ปีเดียว เข้าไปมีส่วนร่วมกับโครงการที่สำคัญจำนวนมาก เช่นให้บริการเทคโนโลยีคลาวด์สำหรับโครงการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ ขณะที่ภาคการเงินเริ่มปูทางเพื่อลุยหนักบล็อกเชน พร้อม นำแนวคิด ‘อไจล์’ และ ‘ดีไซน์ธิงค์กิง’ สนับสนุนการปฏิรูปธุรกิจเชิงดิจิทัลของธนาคารไทย
โดยเริ่มตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการและระบบบริหารจัดการเบื้องหลัง ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้กับงานบริการลูกค้าเพื่อให้ตอบโจทย์และความต้องการที่เปลี่ยนไปของลูกค้าในยุคดิจิทัล ความร่วมมือที่ผ่านมานำสู่การนำระบบโรโบติกส์ พรอเซส ออโตเมชั่น มาใช้เพื่อลดระยะเวลาของกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเอกสารจำนวนมากและภาระงานที่ต้องทำซ้ำๆ นำร่องใช้งานในกว่า 30 กระบวนการทำงาน และคาดหวังที่จะขยายต่อไปเป็น 100 กระบวนการในเฟสต่อไป
เธอเผยว่า ไอบีเอ็มยังมีแผนรุกหนักเทคโนโลยีไอโอทีมาต่อเนื่อง ภายใต้หน่วยธุรกิจ “วัตสัน ไอโอที” จะช่วยเสริมประสิทธิภาพระบบปฏิบัติการการผลิต ลูกค้าเช่น ปตท. นำเทคโนโลยีค็อกนิทิฟ ไอบีเอ็ม วัตสัน ไอโอทีไปใช้เป็นครั้งแรกในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเพิ่มผลผลิตและเสริมศักยภาพระบบปฏิบัติการของโรงแยกก๊าซ รวมถึงลดค่าใช้จ่ายมหาศาลที่เกิดจากการรีเซ็ทการทำงานของชุดอุปกรณ์
สำหรับตลาด โทรคมนาคม มีศูนย์ค็อกนิทิฟซิเคียวริตี้อัจฉริยะรับมือภัยคุกคามยุคบิ๊กดาต้า ท่ามกลางภัยคุกคามที่มีความซับซ้อน การเกิดขึ้นของข้อมูลจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน ด้านการแพทย์นำพลังซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์เพื่อการวิจัยและเก็บข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็ง สมองเสื่อม และโรคที่เป็นปัญหาสำคัญอื่นๆ ของประเทศไทย โดยคาดหวังที่จะนำผลที่ได้ไปพัฒนาการวินิจฉัยและการกำหนดแนวทางการรักษาโรคที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน
http://www.bangkokbiznews.com
ราคาทองทุกชนิด ตามประกาศของสมาคมค้าทองคำ(Gold Traders Association) ประจำวันที่ 29/11/2560
ชนิดความบริสุทธิ์ของทอง
|
ราคารับซื้อต่อกรัม
|
ราคารับซื้อ/บาท
|
ราคาขายออก/บาท
|
ทองคำแท่ง 96.5% |
n/a |
19,900.00 |
20,000.00 |
ทองรูปพรรณ 96.5% |
1,289.00 |
19,541.24 |
20,500.00 |
ทองรูปพรรณ 90% |
1,160.10 |
17,587.12 |
n/a |
ทองรูปพรรณ 50% |
580.00 |
8,792.80 |
n/a |
ทองรูปพรรณ 40% |
451.00 |
6,837.16 |
n/a |
ทองรูปพรรณ 99.99% |
1,336.00 |
20,253.76 |
n/a |
ราคาน้ำมัน ประจำวันที่ 29/11/2560
ราคาขายปลีมาตรฐาน ในเขต กทม. นนทบุรี
ปทุมธานี และสมุทรปราการ
หน่วย : บาท/ลิตร |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปตท
PTT |
บางจาก
BCP |
เชลล์
Shell |
เอสโซ่
Esso |
คาลเท็กซ์
Caltex |
ไออาร์พีซี
IRPC |
พีทีจี
เอนเนอยี่
PTG |
ซัสโก้
Susco |
ระยองเพียว
Pure |
ซัสโก้ ดีลเลอร์
SUSCO Dealers |
แก๊สโซฮอล 95 |
28.25 |
28.25 |
– |
27.65 |
28.25 |
27.65 |
28.25
|
28.25
|
28.25
|
28.25
|
แก๊สโซฮอล E-20 |
25.74
|
25.74
|
25.74
|
25.14
|
25.74
|
– |
25.74
|
25.74
|
25.74
|
25.74
|
แก๊สโซฮอล E-85 |
20.84 |
20.84 |
– |
– |
– |
– |
– |
20.84 |
20.84 |
– |
แก๊สโซฮอล 91 |
27.98 |
27.98 |
27.98 |
27.38 |
27.98 |
27.38 |
27.98 |
27.98 |
27.98 |
27.98 |
เบนซิน 95 |
35.36 |
– |
– |
– |
35.81 |
– |
35.86 |
35.36 |
35.36 |
35.36 |
ดีเซลหมุนเร็ว |
26.79 |
26.79 |
26.79 |
26.79 |
26.79 |
26.79 |
26.79 |
26.79 |
26.79 |
26.79 |
ดีเซลหมุนเร็ว พรีเมียม |
29.79 |
30.47 |
30.47 |
30.47 |
30.47 |
– |
– |
– |
– |
– |
มีผลตั้งแต่ |
23 Nov 05:00 |
23 Nov 05:00 |
23 Nov 05:00 |
23 Nov 05:00 |
23 Nov 05:00 |
23 Nov 05:00 |
23 Nov 05:00 |
23 Nov 05:00 |
23 Nov 05:00 |
23 Nov 05:00 |