คมนาคม เผยแผน 5 ปี ขยายมอเตอร์เวย์ 7 เส้นทาง
ปี 2561 ทำเลชานเมืองและพื้นที่ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า กำลังเป็นทำเลทองที่ได้รับความสนใจทั้งกลุ่มผู้ซื้อและผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ปัจจัยหลักมาจากนโยบายส่งเสริมแผนเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นพัฒนาเครือข่ายคมนาคม
รถไฟฟ้าจ่อเปิดบริการ เริ่มปลายปี 61
โครงการขยายเส้นทางให้บริการรถไฟฟ้า อาทิ สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่จะเปิดให้บริการปลายปี 2561 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เปิดให้บริการบางส่วนในปี 2562 และเต็มระบบปี 2563 สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค เริ่มเปิดให้บริการปี 2562 ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ เปิดให้บริการปี 2563 สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง และสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี เปิดให้บริการปี 2564 และสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2566
ขยายมอเตอร์เวย์ 7 เส้นทาง เดินหน้าปี 62
นอกจากระบบรถไฟฟ้าที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเดินทางและมีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย ล่าสุด กระทรวงคมนาคมได้เดินหน้าแผนลงทุนโครงการมอเตอร์เวย์ในระยะ 5 ปีข้างหน้า ใช้เงินลงทุน 3.54 แสนล้านบาท รวม 7 เส้นทาง เพื่อรองรับการเติบโตของเมืองและแก้ปัญหารถติดในโครงข่ายถนนหลักในเขตปริมณฑล
โดยจะเน้นการลงทุนไปที่โซนทิศเหนือและทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ ในรูปแบบการร่วมทุนกับภาคเอกชน เพื่อลดภาระงบประมาณและเพดานหนี้สาธารณะของประเทศ ซึ่งแผนงานลงทุนทั้งหมดจะเริ่มดำเนินการในปี 2562 และเริ่มต้นก่อสร้างทั้งหมดภายในปี 2566
สำหรับ 7 โครงการดังกล่าว ประกอบด้วย
1. โครงการมอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 108 กิโลเมตร วงเงิน 8 หมื่นล้านบาท
2. โครงการมอเตอร์เวย์บางบัวทอง-บางปะอิน ระยะทาง 70 กิโลเมตร วงเงิน 7.8 หมื่นล้านบาท
3. โครงการทางยกระดับศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 15 กิโลเมตร วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท
4. โครงการขยายโทลเวย์ ช่วงรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 18 กิโลเมตร วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท
5. โครงการมอเตอร์เวย์บางขุนเทียน-เอกชัย ระยะทาง 10 กิโลเมตร วงเงิน 1.05 หมื่นล้านบาท
6. โครงการมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร วงเงิน 5.5 หมื่นล้านบาท
7. โครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร วงเงิน 8.4 หมื่นล้านบาท
การขยายเส้นทางคมนาคมนอกจากจะช่วยเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ที่สัญจรผ่านไปมาได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังเอื้อต่อการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยออกไปสู่โซนชานเมืองมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภค DDproperty Consumer Sentiment Survey ในไตรมาส 1 ปี 2561 พบว่า ผู้ที่คิดจะซื้อบ้านมีความต้องการโครงการที่อยู่อาศัยในโซนชานเมืองมากกว่าเขตศูนย์กลางย่านธุรกิจใหม่ (New CBD: Central Business Distrist) อย่างย่านรัชดาภิเษก ลาดพร้าว พระราม 9 ที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นตามมูลค่าที่ดิน ซึ่งเอื้อต่อการขายต่อหรือลงทุนในอนาคต
ขอบคุณข้อมูลจาก www.ddproperty.com
รู้จักเทคโนโลยี BIM ตัวช่วยยกระดับมาตรฐานอสังหาฯ
แม้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์จะไม่ใช่ภาคธุรกิจที่มีความไฮเทคมากเมื่อเทียบกับหลาย ๆ อุตสาหกรรม โดยเฉพาะระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคที่ยังมีไม่มากนัก แม้ว่าปัจจุบันจะมีเรื่องสมาร์ทโฮมที่สามารถสั่งการอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้านผ่านสมาร์ทโฟน รวมถึงระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ที่สะท้อนความไฮเทคให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่ก็ยังมีต้นทุนสูง เทคโนโลยีเหล่านี้จึงจำกัดอยู่เฉพาะโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ ๆ ระดับไฮเอนด์ ไม่ได้ขยายวงกว้างไปยังทุกระดับราคา
ขณะที่ภาคการออกแบบและการผลิต รวมถึงระบบบริหารจัดการภายในองค์กร ได้มีการนำเทคโนโลยีหลายรูปแบบเข้ามาสนับสนุนมากขึ้น เพื่อให้การทำงานเบื้องหลังของภาคอสังหาริมทรัพย์มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น โดยหนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่นิยมและถูกพูดถึง นั่นคือ BIM หรือ Building Information Modeling เทคโนโลยีสำหรับวงการอสังหาริมทรัพย์ ที่เริ่มตั้งแต่การออกแบบอาคารไปจนถึงการควบคุมงานก่อสร้าง
BIM เป็นระบบที่ทำงานผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมกระบวนการต่าง ๆ โดยระบบจะสร้างแบบจำลองที่แม่นยำ ออกแบบ เขียนแบบ คำนวณโครงสร้าง งบประมาณ จัดซื้อ วางแผนงานต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้ทุกกระบวนการสอดคล้องกัน คล้ายกับการทำงานร่วมกัน แตกต่างจากวิธีการเดิมที่แยกส่วนกันทำ
ในหลายบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของต่างประเทศ มองว่าการใช้ระบบ BIM ช่วยยกระดับการทำงานในภาคอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ต้นจนจบ ลดระยะเวลาในการทำงานทุกขั้นตอน ลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน ลดความผิดพลาดในการก่อสร้าง ซึ่งมีผลทำให้ต้นทุนในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาโครงการลดลง รวมถึงระบบดังกล่าวยังเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างที่สามารถแบ่งปันให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องรับทราบร่วมกันได้ ร่วมกันแก้ปัญหา และเรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ ในการทำงานจากฐานข้อมูล BIM
เทคโนโลยี BIM ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะผู้พัฒนาโครงการเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์กับผู้บริโภคด้วยเช่นกัน เนื่องจากระบบบริหารจัดการต่าง ๆ ที่ควบคุมคุณภาพการทำงาน ทำให้งานก่อสร้างเป็นไปตามแบบ ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับที่อยู่อาศัยคุณภาพดี ตรงตามแบบที่ผู้บริโภคได้เห็นครั้งแรกตั้งแต่ตอนที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง และทำให้ที่อยู่อาศัยที่ได้มีความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้รับด้วย
ทั้งนี้ บริษัท เอ็นริช สเตทส์ จำกัด เป็นหนึ่งในบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เทคโนโลยี BIM เข้ามาใช้ในการพัฒนาโครงการ ซึ่งช่วยให้แก้ไขข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นได้ในการออกแบบได้รวดเร็ว และยังใช้ระบบดังกล่าวเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักออกแบบ ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้าง ที่ปรึกษา หรือแม้แต่พนักงานจัดซื้อเพื่อให้เข้าใจทุกกระบวนการตรงกัน ซึ่งมีผลให้บริษัท เอ็นริช สเตทส์ จำกัด ได้รับรางวัล Special Recognition for Design and Construction จากงาน PropertyGuru Thailand Property Awards 2018 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่การแข่งขันในทุกอุตสาหกรรมมีสูง และเทคโนโลยีมีบทบาทสูงที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงหลายอุตสาหกรรม แม้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์จะไม่ได้ถูก Digital Disrupt หรือถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี แต่การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ก็เริ่มมีความจำเป็นอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยแม้ว่าจะไม่ได้ใส่เป็นฟังก์ชั่นที่ผู้บริโภคได้ใช้งาน แต่กระบวนการผลิตจนถึงส่งมอบที่อยู่อาศัยที่ดีและมีคุณภาพให้ผู้บริโภคด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน ก็เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ไม่ควรมองข้าม
ขอบคุณข้อมูลจาก www.ddproperty.com
บริหารเงินสไตล์ Gen Y เป็นตนเองได้ ไม่ต้องฝืน
เกิดกระแสเป็นระลอกกับภาระความเป็นห่วง Gen Y เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายเงิน แลดูแล้วคนรุ่นอื่นเหมือนจะทุกข์ร้อนมากกว่าคน Gen Y เสียอีก ตัวอย่างสถิติแสดงพฤติกรรมการใช้จ่าย Gen Y น่าตกใจ อาทิ
- สัดส่วนผู้ถือบัตรเปิดใหม่เป็น Gen Y มากกว่า 50% เฉลี่ยถือบัตรเครดิต 3 ใบต่อคน
- ไตรมาส 1/60 Gen Y มีหนี้รวมกันสูงถึง 2.13 ล้านล้านบาท (จำนวน 5.4 ล้านคน) โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 29 ปี ที่มีหนี้สินสูงถึง 1.5 แสนบาทต่อคน ( สัดส่วน 20% เป็นหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน )
- Gen Y เป็นตัวของตัวเอง ชอบใช้จ่ายตอบสนองความสุขแบบไม่พิจารณาถี่ถ้วน มักชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำ 10% วนไปเรื่อย ๆ โดยยอมเสียดอกเบี้ย 20-28% ต่อปี กลายเป็นการติดกับดักบัตรเครดิต
ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป TerraBKK มองว่าคงไม่เกินความสามารถที่เหล่า Gen Y จะลองมา ทำความเข้าใจพื้นฐานการเงินกันใหม่ ในสไตล์ Gen Y เป็นตนเองได้ ไม่ต้องฝืน แค่ปรับเล็กน้อยก็เห็นผลลัพธ์ที่คุ้มค่าแล้ว เริ่มต้นจาก กฎทองของการเงินส่วนบุคคล นั้นคือ การแบ่งจ่ายตัวเองก่อนเสมอ “ pay yourself first ” ทุกครั้งที่มี “รายได้” เข้าบัญชีธนาคาร แบ่งจ่ายตนเองเป็น “เงินออมและการลงทุน” ก่อนเป็นอันดับแรกเสมอ ส่วนที่เหลือค่อยนำไปเป็น“ค่าใช้จ่าย” ที่เรายินดีจ่ายออกไปให้กับผู้อื่น
รายได้ – เงินออมเพื่อลงทุน = เงินใช้จ่ายตามไลฟ์สไตล์ Gen Y
มองง่ายๆ นั้นก็หมายความว่า
- รักษาระดับการใช้จ่ายแบบพอดี รายได้เพิ่ม เงินออมต่อเดือนเพิ่ม : Gen Y สไตล์ อนาคตของชาติ
- รักษาระดับการใช้จ่ายแบบพอดี รายได้คงที่ เงินออมต่อเดือนคงที่ : Gen Y สไตล์ slow life มีความสุข
- หาก ต้องการใช้จ่ายมากๆ ก็ควร เพิ่มรายได้ เพื่อรักษาระดับเงินออมคงที่ : Gen Y สไตล์ work/life balance
- แต่ถ้าคุณคือ Gen Y ต้องการใช้จ่ายมาก ๆ แต่รายได้คงที่ กรณีมีเงินออมลดลงก็ยังดี แต่กรณีไม่มีเงินออมแถมยังเป็นหนี้ คุณคือ Gen Y สอบตก หมดอนาคต ชีวิตนี้จะไม่มีทางหลุดวงจรหนี้สิน อย่างที่เขาเป็นห่วงจริงๆ
หากสังเกตดู จะพบว่า การบริหารเงินสไตล์ Gen Y นอกจากด้านพฤติกรรมการใช้จ่ายแล้ว ยังประกอบไปด้วยด้านรายได้ และด้านเงินออมเพื่อการลงทุน ที่ส่งผลต่อฐานะการเงิน Gen Y อีกด้วย ดังนั้นเพียง Gen Y ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเงินด้านใดด้านหนึ่งกันสักนิด เชื่อว่าผลลัพธ์ที่ตามมาย่อมเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน
เพิ่มช่องทางรายได้สไตล์ Gen Y
Gen Y ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงาน ชอบความเป็นอิสระ รักความสร้างสรรค์ ประกอบกับ ไลฟ์สไตล์เป็นตัวของตัวเอง Gen Y รู้ว่าตนเองชอบอะไร มองให้ดี ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติสำคัญในการมองหาอาชีพเสริมรายได้ยุคดิจิตอล 4.0 นี้ เลยทีเดียว
- ขายของออนไลน์ สำหรับ Gen Y ที่มีหัวคิดการค้าและชอบการค้าขายผ่านช่องทาง Social เช่น Facebook , Instragram เป็นต้น
- Freelance รับเขียนบทความ/กราฟฟิก สำหรับ Gen Y ถนัดเขียนขีด หรือ ชอบอ่านชอบออกแบบดีไซน์ รายได้ขึ้นอยู่กับจำนวนคำต่อบทความราคา หรือ ประเภทการออกแบบ เป็นต้น
- ถ่ายภาพขายออนไลน์ สำหรับ Gen Y กับอาวุธคู่กายเป็นกล้องถ่ายรูป สร้างพอร์ตภาพออนไลน์ขาย เช่น Shutterstock เป็นต้น รายได้ต่อดาวน์โหลด ขึ้นอยู่กับการให้ราคาของผู้ซื้อออนไลน์รายนั้น ๆ
- รับหิ้วของ สำหรับ Gen Y รักการชอปปิ้งและป้ายเซลล์ ราคารับหิ้วสินค้าขึ้นอยู่กับขนาดของและการจัดส่ง เริ่มต้น 40-60 บาทต่อสินค้า เป็นต้น
- ทำเพจรีวิว สำหรับ Gen Y ที่รักสินค้ากลุ่มใดเป็นพิเศษ และมีความเชี่ยวชาญจนคนอื่นให้ความเชื่อถือ เช่น รีวิวภาพยนตร์ , รีวิวอาหาร, รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวเครื่องสำอาง เป็นต้น รายได้จะมาจากค่าโฆษณาสินค้าหรือร้านค้าที่นำมาลงในเพจ นั้นเอง
แม้ไม่มีตัวเลขสถิติใดมาการันตี แต่เดาว่า มนุษย์เงินเดือน ยังเป็นอาชีพอันดับต้นๆที่เหล่า Gen Y บัณฑิตจบใหม่ จะเดินเข้าไปหา แม้ภาพลักษณ์ Gen Y ถูกตีความไปแล้วว่า ไม่อดทน ไม่จงรักภักดีต่อองค์กร ย้ายงานบ่อย ฯลฯ ก็อยากแนะนำว่า ก่อนตัดสินใจลาออก คุณได้เก็บ 2 ข้อต่อไปนี้ มาเรียบร้อยแล้ว
- เก็บประสบการณ์จากคนเก่งในองค์กร มองหาไอดอลในที่ทำงาน แล้วสังเกตการทำงานของเขาคนนั้น กรณีไม่ได้รับการสอนโดยตรง จงใช้ วิธีครูพักลักจำ เก็บเล็กผสมน้อย เรียนรู้ไปเรื่อยในสิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์กับตัวเอง
- เพิ่มเครดิตตัวเองจากชื่อเสียงบริษัท การรับเลือกเป็นพนักงานของบริษัทชั้นนำของประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย หากคุณได้รับสิทธิ์นั้นแล้ว จงเรียนรู้เพื่อสร้างผลงาน เพิ่มเครดิตตนเอง เก็บไว้ต่อยอดที่อื่น
Gen Y ต้องลงทุน ถึงเวลาออมเงิน
ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่า Gen Y ควรออมเงินมากน้อยแค่ไหนต่อเดือน วิธีที่ง่ายที่สุด คือ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากเงินเดือน เช่น 10% ถึง 15% ของรายได้ทุกเดือน เป็นต้น ยิ่งฐานเงินเดือนเพิ่ม เปอร์เซ็นต์เงินออมจึงควรเพิ่มตามไปด้วย แม้ Gen Y จะรู้เรื่องนี้แล้ว แต่ก็ทำได้ยาก ดังนั้น “ระบบตัดเงินอัตโนมัติ” คือคำตอบ ทันทีที่มีเงินเดือนเข้า มันจะถูกตัดไป บัญชีเพื่อการลงทุน หรือ บัญชีเงินออม ก่อนเสมอ
Gen Y ที่มีรายได้สูง มีแนวโน้มออมเงินในรูปแบบเงินฝากลดลง และสนใจลงทุนในกลุ่มที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น
• DCA หรือ Dollar Cost Average ปรับแนวการลงทุนตลาดหุ้นสไตล์ Gen Y จากแมงเม่าบินเข้ากองไฟ หวังรวยเร็ว เข้าออกผิดจังหวะ พบเจอปัญหาภาระข้อมูลล้น ฯลฯ ลองปิดจอแล้วเปิดข้อมูลวิเคราะห์ตัวธุรกิจจริง ๆ จนได้คำตอบว่า “ฉันจะเป็นเจ้าของธุรกิจนี้” จากนั้น ทยอยลงทุนเป็นงวด ในจำนวนเงินที่เท่ากันทุกงวด โดยไม่สนใจราคาของหุ้นว่าจะขึ้นหรือลงมากน้อยเพียงใด แล้วรอดูผลลัพธ์ที่ตามมากัน
ขณะที่ Gen Y ที่มีรายได้ต่ำ จะสนใจกลุ่มที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากนัก ความเสี่ยงต่ำ การลงทุนไม่ยุ่งยากซับซ้อน
• ฝากเงินที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เช่น บัญชีเงินฝากประจำ ต้องฝากทุกเดือนเพื่อรักษาอัตราดอกเบี้ยสูง หรือ สลากออมสิน ลักษณะฝากเงินประจำระยะตามกำหนด อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ แถมลุ้นรางวัลได้ทุกเดือน เป็นต้น
ใช้จ่ายสไตล์ Gen Y ไม่ต้องฝืน แค่ปรับนิดหน่อย
สินทรัพย์ที่มีค่าที่สุด คือ ตัวเราเอง จึงไม่แปลกที่พฤติกรรมการใช้จ่าย Gen Y จะเป็นไปเพื่อเพิ่มประสบการณ์เรียนรู้ใหม่ของตนเองจากสินค้าหรือสถานที่ต่าง ๆ จงเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องฝืน แค่ปรับวิธีเรียกสติ Gen Y กลับมามองดู“ความสมดุลของรายได้และค่าใช้จ่าย” ของตนเองเสียก่อน เช่น
“ เงินเดือน 20,000 บาท เวลางาน 176 ชม.ต่อเดือน (= 22วัน x 8ชม)
เฉลี่ยรายได้ 114 บาทต่อชม. ( = 20,000/176)
แสดงว่า การกินบุฟเฟ่ต์ปิ้งย่างราคา 500 บาทในเวลาชั่วโมงครึ่ง ต้องแลกกับการทำงานครึ่งวัน ”
ครั้งคราวคงพอไหว หากบ่อยครั้งเกินไป ลองดึงสติการใช้จ่ายกลับมาตามสไตล์ Gen Y เช่น
Gen Y สายชอป
- อะไรใหม่ ๆ ต้องซื้อมาครอบครอง ไม่ต้องฝืดใจเลิกซื้อ ลองปรับด้วยวิธี ขายของเก่า เพิ่มเงินอีกนิด ได้ของใหม่ ช่องทางขายต่อสินค้ามือสองออนไลน์มีเยอะแยะ ไม่ยากเกินความสามารถ Gen Y แน่นอน
- ช้าแต่ชัวร์ ขออ่านข้อมูลเปรียบเทียบความคุ้มค่าสุด ๆ Gen Y กับปัญหาข้อมูลล้น ลองปรับการค้นหาข้อมูลยิงตรงไปที่ผลการใช้งานจริง เช่น รีวิวเปรียบเทียบ กระทู้ความคิดเห็นของผู้ใช้ เป็นต้น
Gen Y สายรูดบัตร
- การใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตไม่ผิด แต่ผิดที่ Gen Y ใช้แล้วไม่มีเงินจ่ายหนี้บัตรเครดิต เรียกว่าความสามารถในการบริหารจัดการเงินต่ำ ถ้ามองว่าบัตรเครดิตคือการใช้เงินอนาคตและควบคุมไม่ได้ ลองปรับและกลับมาใช้ “บัตรเดบิต” ใช้จ่ายได้จริงตามจำนวนเงินในบัญชี ช่วยจำกัดการใช้จ่าย Gen Y ได้ เงินส่วนอื่น ๆ จะได้ไม่ต้องมารับภาระหนี้บัตรเครดิตแทนด้วย
Gen Y สายเที่ยว
- Gen Y ชอบการท่องเที่ยว เพราะทำให้มองเห็น “การเปลี่ยนแปลงของโลก” และ “ความต่างของแต่ละสถานที่” มากกว่าค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ก็คือ ช่องทางเพิ่มรายได้ ลองประยุกต์ความสามารถตามสไตล์ Gen Y ดูสิ เช่น ถ่ายภาพขายออนไลน์ เขียนรีวิวร้านอาหารเด็ด หรือ ไอเดียสร้างธุรกิจเจ๋ง ๆ เป็นต้น
ท้ายนี้ TerraBKK มองว่า Gen Y ยังอยู่ในช่วงวัยอายุไม่มาก ยังมีภาระไม่สูง จึงมีความกล้าในการสร้างโอกาสใหม่ๆ แก่ตนเอง มากกว่าคนกลุ่มอื่น แต่สิ่งที่ Gen Y ขาด คือ ประสบการณ์ของคนที่อาบน้ำร้อนมาก่อน พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินก็เช่นกัน แก่ตัวไม่มีเงินออมแถมยังมีประวัติหนี้เสีย เอาแค่นี้ เชื่อว่า Gen Y ก็มองออกว่าชีวิตจะเป็นอย่างไร และ ยังยืนยันคำเดิมว่า บริหารเงินสไตล์ Gen Y เป็นตนเองได้ ไม่ต้องฝืน แค่ปรับเล็กน้อยก็เห็นผลลัพธ์ที่คุ้มค่าแล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก www.terrabkk.com
นักวิทย์เล็งกำหนดนิยามมวลน้ำหนัก “กิโลกรัม” ใหม่
น้ำหนัก 1 กิโลกรัมในปัจจุบัน อาจเปลี่ยนไป เมื่อนักวิทย์เล็งโหวตเปลี่ยนนิยามมวลหน่วยกิโลกรัมใหม่ในรอบกว่าร้อยปี
เดอะการ์เดี้ยนรายงานว่า ภายในวันที่ 16 พ.ย. ที่จะถึงนี้ จะมีตัวแทนของบรรดานักวิทยาศาสตร์จากทั้งหมด 57 ประเทศ เดินทางมารวมประชุมที่เมืองแวร์ซาย ของฝรั่งเศส เพื่อทำการโหวต ว่าจะเปลี่ยนความหมายของมวลน้ำหนักกิโลกรัมหรือไม่
รายงานระบุว่า การโหวตที่จะมีขึ้นในวันที่ 16 พ.ย. นี้ มีเนื้อหาในประเด็นสำคัญที่อาจเปลี่ยนมวลของหน่วย “กิโลกรัม” เป็นครั้งแรกในรอบ 129 ปี นับตั้งแต่ที่มีการประกาศใช้หน่วยกิโลกรัมอย่างเป็นทางการในปี 1889
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า หน่วยน้ำหนักกิโลกกรัมที่เรารู้จักในทุกวันนี้อ้างอิงจาก “มวลกิโลกรัมมาตรฐาน” หรือที่มีชื่อเล่นว่า ก้อน Le Grand K หรือ International Prototype Kilogram (IPK) ซึ่งถูกจัดเก็บไว้ที่ สำนักมาตรการการชั่งตวงวัดนานาชาติ (International Bureau of Weights and Measures) ในประเทศฝรั่งเศส
โดยเจ้าก้อน Le Grand K ถูกสร้างขึ้นในปี1889 จากโลหะผสมระหว่างแพลตินัม 90% ประกอบกับอิริเดียม 10% เป็นรูปทรงกระบอกความสูง 4 เซนติเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางฐานยาว 4 เซนติเมตร ถูกบรรจุในครอบแก้วสูญญากาศ 2 ชั้น ซึ่งนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เจ้าก้อน Le Grand K ก็เปรียบเสมือนเป็น “แม่แบบ” ในการใช้อ้างอิงหน่วยกิโลกรัมของทั่วโลก
แต่ทว่านับตั้งแต่ปี 1889 เป็นต้นมา เมื่อนักวิทยาศาสตร์กลับพบปัญหากับนำเจ้าก้อน Le Grand K นี้อยู่ 2 ประการ
ประการแรก คือเมื่อนำเจ้าก้อนดังกล่าว กลับมาชั่งทดสอบในทุกๆ 40 ปี พบว่ามันกลับมีน้ำหนักคลาดเคลื่อนไม่เท่าเดิมกับการชั่งก่อนครั้งก่อนหน้า ถึงแม้ว่าความคลาดเคลื่อนดังกล่าวจะอยู่ในระดับ “ไมโครกรัม” เท่านั้น โดยพบว่าในรอบ 100 ปีที่ผ่านมาเจ้าก้อน Le Grand K ดังกล่าวได้สูญเสียมวลจากเดิมที่ชั่งไปครั้งแรกเมื่อปี 1889 แล้วอย่างน้อย 50 ไมโครกรัมซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อีกทั้งแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะถือว่าน้อยมากๆสำหรับการใช้หน่วยกิโลกรัมในชีวิตประจำวันของเรา
ประการที่สองคือ ในทุกๆ 10 ปี นั้น นักวิทยาศาสตร์จะต้องทำการสร้าง “สำเนา” ของเจ้าก้อน Le Grand K ดังกล่าว ไว้แจกจ่ายไปยังสถาบันมาตรฐานชั่งตวงวัดแห่งต่างๆทั่วโลก เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน อีกทั้งเพื่อในกรณีที่ก้อนต้นแบบ Le Grand K ได้รับความเสียหาย แต่ทว่านักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถสร้าง “สำเนา” ของก้อน Le Grand K ให้มีน้ำหนักเหมือนเดิมแบบเป๊ะๆได้
แต่สำหรับนักวิทยาศาสตร์ พวกเขาไม่คิดเช่นนั้น หากอ้างอิงจากแนวคิดที่ว่า “วัตถุใด ๆ ก็ตามในเอกภพ ที่เมื่อ 100 ปีก่อนมีมวล 1 กิโลกรัม และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ปัจจุบันจะมีมวลมากกว่าหนึ่งกิโลกรัมอยู่ 50 ไมโครกรัม” ซึ่งหากเป็นเช่นนี้จะทำให้มนุษย์สูญเสียมาตรฐานในการนิยามค่ามาตรฐานของหน่วยกิโลกรัมเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงเพียงแค่เล็กน้อยก็อาจสามารถทำให้ค่ากิโลกรัมที่แม่นย่ำคลาดเคลื่อนได้ในอนาคต
วิธีหนึ่งที่ง่ายที่สุดในการกำหนดค่ามาตรฐาน 1 กิโลกรัมคือ “น้ำหนักของอะตอมจำนวนหนึ่ง” แต่ทว่าการนับอะตอมที่มีอยู่รอบตัวเรานั้นมันไม่ใช้เรื่องง่าย
ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ล่าสุด ตลอดหลายปีสิบปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์พยายยามหาวิทธีการรักษาค่ามาตรฐานตามหน่วยกิโลกรัม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การประดิษฐ์อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้การอ้างอิงมวลเข้ากับค่าคงที่ของพลังค์ (Planck’s constant) ตามแนวคิดของมักซ์ พลังค์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นการวัดค่ามวลกิโลกรัมโดยใช้พลังงานของโฟตอนกับความถี่ของคลื่นไฟฟ้า แทนที่จะเป็นโลหะชิ้นเดียวเหมือนเจ้าก้อน Le Grand K
ด้าน Stephan Schlamminger นักฟิสิกส์จากสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติสหรัฐอเมริกา เผยกับการ์เดี้ยนว่า เขาเชื่อว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงใหม่นี้จะเป็นไปตามหลักการเดิมของ IPK ซึ่งที่ผ่านมาจากการทดสอบพบว่ามวลกิโลกรัมจากเครื่องมือพลังค์นั้นมีค่าคงตัวเสมอ มันจะเหมาะที่จะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับมนุษยชาติในการกำหนดค่ามาตรฐานกิโลกรัมในอนาคต
ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการประชุม General Conference on Weights and Measures ที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 13 – 16 พ.ย. นี้ โดยนอกจากประเด็นค่ามาตรฐานกิโลกรัมแล้ว เหล่านักวิทยาศาสตร์จะถกเถียงถึงประเด็นค่ามาตรฐานของหน่วยแอมแปร์ หน่วยวัดอุณหภูมิเคลวิน และหน่วยวัดปริมาณสาร โมล ด้วย
ซึ่งหากผลการประชุมมีมติเปลี่ยนแปลงใดๆในหน่วยเหล่านี้ คาดว่าจะมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 20 พฤษภาคม ปี 2019
ขอบคุณข้อมูลจาก www.terrabkk.com
ความต่างระหว่าง all, every และ whole
all, every และ whole ทั้ง 3 คำนี้มีความหมายว่า ‘ทั้งหมด’
แต่ถึงจะความหมายเดียวกันก็ใช่ว่าจะใช้แทนกันได้ทุกสถานการณ์
All
เราไม่ใช้ all แทนความหมายของ everybody หรือ everyone เช่น
Everybody enjoyed the party. ทุกคนสนุกกับปาร์ตี้ (ไม่ใช่ All enjoyed)
แต่เราใช้ All แทน Everthing ได้ในบางสถานการณ์ เช่น
I’ll do all I can to help. มีความหมายเดียวกับ I’ll do everything I can to help.
Every
***จำไว้ว่า Every ถึงจะมีความหมายว่า ทั้งหมด แต่ใช้กับกริยาเอกพจน์เท่านั้น เช่น
Every seat in the theatre was taken. ทุกที่นั่งในโรงละครถูกจับจองแล้ว
Everybody has arrived ทุกคนมาถึงแล้ว
Whole
Whole แปลว่าทั้งหมดทั้งสิ้น มักใช้คู่กับคำนามเอกพจน์ เช่น
Did you read the whole book? = อ่านหนังสือทั้งเล่มไม่ใช่แค่บางส่วน
She has lived her whole life in Thailand. = ตลอดชีวิตของเธอ
แล้วถ้าใช้กับเวลาล่ะ ทั้ง 3 คำนี้มีความหมายว่าอะไร
Every ใช้เพื่อบอกความถี่ของเวลา เช่น every day, every Tuesday
All day มีความเดียวกับ the whole day แปลว่า ทั้งวัน ตลอดวัน
เช่น
We spent all day / the whole day on the beach. พวกเราใช้เวลาทั้งวันบนชายหาด
ลองมาดูการเปรียบเทียบ all the time และ every time กันบ้างดีกว่า
They never go out. They are at home all the time. = เสมอ
Every time I see you, you look different. = ทุกครั้ง, แต่ละโอกาส
การเลือกใช้แต่ละครั้ง ควรดูให้ถูกต้องจะได้ไม่ผิดความหมายนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก engoo.co.th
ราคาทองทุกชนิดตามประกาศสมาคมค้าทองคำ ประจำวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561
ชนิดความบริสุทธิ์ของทอง | ราคาขาย/บาท | ราคารับซื้อ/บาท | ราคารับซื้อ/กรัม |
ทองคำแท่ง 96.5% | 18,900.00 | 18,800.00 | n/a |
ทองรูปพรรณ 96.5% | 19,400.00 | 18,464.88 | 1,218.00 |
ทองรูปพรรณ 99.99% | n/a | 19,131.92 | 1,262.00 |
ทองรูปพรรณ 90% | n/a | 16,618.39 | 1,096.20 |
ทองรูปพรรณ 80% | n/a | 14,771.90 | 974.40 |
ทองรูปพรรณ 50% | n/a | 8,307.68 | 548.00 |
ทองรูปพรรณ 40% | n/a | 6,458.16 | 426.00 |
ราคาน้ำมัน ประจำวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561
ปตท. |
บางจาก |
เชลล์ |
เอสโซ่ |
คาลเท็กซ์ |
ไออาร์พีซี |
พีที |
ซัสโก้ |
เพียว |
ซัสโก้ดีลเลอร์ |
|
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
แก๊สโซฮอล์ 95 | 29.15 | 29.15 | 29.15 | 29.15 | 29.15 | 29.15 | 29.15 | 29.15 | 29.15 | 29.15 |
แก๊สโซฮอล์ 91 | 28.88 | 28.88 | 28.88 | 28.88 | 28.88 | 28.88 | 28.88 | 28.88 | 28.88 | 28.88 |
แก๊สโซฮอล์ E20 | 26.14 | 26.14 | 26.14 | 26.14 | 26.14 | – | 26.14 | 26.14 | 26.14 | 26.14 |
แก๊สโซฮอล์ E85 | 20.79 | 20.79 | – | – | – | – | – | 20.79 | 20.79 | – |
เบนซิน 95 | 36.26 | – | – | – | 36.71 | – | 36.76 | 36.56 | 36.36 | 36.56 |
ดีเซล | 29.59 | 29.59 | 29.59 | 29.59 | 29.59 | 29.59 | 29.59 | 29.59 | 29.59 | 29.59 |
ดีเซลพรีเมี่ยม | 32.89 | 33.46 | 33.46 | 33.46 | 33.46 | – | – | – | – | – |
แก๊ส NGV | 15.73 | 15.73 | – | – | – | – | – | – | – | – |