ราคาที่ดินเปล่า’กทม.-ปริมณฑล’ ขยับขึ้นรับแนวรถไฟฟ้า
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (ธอส.) เปิดเผยถึงผลการจัดทำดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในไตรมาส 4 ปี 2561 ว่า ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีค่าดัชนีเท่ากับ 223.2 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 1.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 219.2 จุด และปรับเพิ่มขึ้น 32.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 168.3 จุด
ทั้งนี้เป็นผลมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินเปล่าที่อยู่ใกล้แนวเส้นทางการก่อสร้างรถไฟฟ้า โดยเฉพาะแนวเส้นรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ) สำหรับ 5 อันดับทำเลที่มีการปรับราคาของที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดได้แก่ ทำเลเขตพระโขนง-บางนา-สวนหลวง-ประเวศ มีการปรับราคาเพิ่มขึ้น 61.8 2% ทำเลสมุทรสาคร เพิ่มขึ้น 56.1% ทำเลเขตราษฎร์บูรณะ-บางขุนเทียน-ทุ่งครุ-บางบอน-จอมทอง เพิ่มขึ้น 55.2 4% ทำเลนครปฐม เพิ่มขึ้น 55.1% และ ทำเลบางกรวย-บางใหญ่-บางบัวทอง-ไทรน้อย เพิ่มขึ้น 49.8%
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาแยกตามทำเลเฉพาะที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าผ่านจะพบว่า 5 อันดับแรกที่มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นสูงสุด ได้แก่ สายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุด 44.6% เนื่องจากก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการ ส่งผลให้ราคาที่ดินในแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวปรับสูงขึ้น ส่วนสายสีเขียวช่วงสมุทรปราการ-บางปูเป็นโครงการในอนาคตยังไม่เริ่มก่อสร้าง มีการปรับราคาเพิ่มขึ้น 44.6% เพิ่มขึ้น 40.1 3% สายสีน้ำเงิน (บางแค-สาย 4) ปรับขึ้น 35.84% BTS สายสุขุมวิท เพิ่มขึ้น 34.3% และ สายสีแดงเข้ม (หัวลำโพง-มหาชัย) เพิ่มขึ้น 30.2%
ขอบคุณข้อมูลจาก thaipost.net
“LPN-สามพร” เยียวยาผู้เสียชีวิตเหตุเครนล้ม ทำหนังสือขออนุญาตถอนเครนป้องกันเหตุเกิดซ้ำ
นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ กรุ๊ป (LPN) เปิดเผยว่า จากเหตุเครนล้มในไซต์ก่อสร้างคอนโดมิเนียมลุมพินี เพลส พระราม 3-ริเวอร์ไรน์ LPN และ บริษัท สามพร จำกัด ร่วมกันเยียวยาผู้เสียชีวิตทั้ง 5 ราย ด้วยการมอบเงินช่วยเหลือครอบครัวละ 1 ล้านบาท รวม 5 ล้านบาท ยังไม่รวมสิทธิประโยชน์และค่าประกันต่างๆ ในทางกฎหมายที่ผู้เสียชีวิตจะได้รับ เบื้องต้นมอบเงินช่วยเหลือไปแล้วครอบครัวละ 100,000 บาทเพื่อดำเนินการจัดงานศพให้ผู้เสียชีวิต พร้อมยืนยันว่าบริษัทจะดูแลครอบครัวผู้เสียชีวิตทุกราย รวมถึงครอบครัวผู้ที่ได้รับบาดเจ็บโดยบริษัทออกค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด รวมถึงเงินชดเชย หากพบว่าคู่สมรสยังไม่มีงานทำบริษัทจะจัดหางานที่เหมาะสมเพื่อสร้างรายได้ต่อเนื่อง นอกจากนี้เตรียมมอบทุนการศึกษาให้กับบุตรจนเรียนจบชั้นปริญญาตรี
ด้านมาตรการการดูแลและรักษาความปลอดภัย บริษัทมีการตรวจสภาพอุปกรณ์ต่างๆ ในทุกเดือน และทุกโครงการมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นผู้ดูแลโดยตรง อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์เครนล้มที่เกิดขึ้น การดำเนินการของบริษัทนอกจากร่วมกันสรุปมาตรการเยียวยาผู้สูญเสียและผู้บาดเจ็บทุกรายแล้ว บริษัทประสานงานไปยังสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ มีความชำนาญการพิเศษมาร่วมตรวจสอบโครงการ ทั้งด้านความแข็งแกร่งโครงสร้าง สาเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อหามาตรการป้องกันให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ส่วนสถานการณ์ในพื้นที่เกิดเหตุขณะนี้อยู่ระหว่างทำหนังสือขออนุญาตรื้อถอนเครนเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ซ้ำ
ขอบคุณข้อมูลจาก prachachat.net
สำรวจแนวทาง 10 เมืองใหญ่ทั่วโลก แก้อย่างไร เมื่ออากาศเป็นพิษ
รุ่งนภา พิมมะศรี : เรื่อง
ถ้าเป็นสักสองสามปีก่อน การตื่นเช้าขึ้นมาเห็นท้องฟ้าเป็นสีขมุกขมัว เราอาจจะยังสับสนกันอยู่ว่าที่เห็นนั่นมันหมอกหรือควัน เพราะมองด้วยตาเปล่านั้นมันแทบไม่ต่างกัน เหมือนในเนื้อเพลงที่พี่เบิร์ดร้องว่า “หมอกจาง ๆ หรือควัน คล้ายกันจนบางทีไม่อาจรู้…” แต่ ณ เวลานี้มีข้อมูลชัดเจนแล้วว่า ที่เห็นขาว ๆ เทา ๆ บนท้องฟ้านั้นคือฝุ่นควัน ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ยังไม่ใช่แค่ฝุ่นหรือควันธรรมดาที่เราเคยอยู่กับมันมาได้อย่างเคยชิน แต่เจ้าฝุ่นที่ฟุ้งอยู่ในอากาศนี้มันคือฝุ่นละออง
PM 2.5 ที่มีพิษภัยมหันต์
ตอนนี้หลายคนตื่นตัวเรื่องเจ้าฝุ่น PM 2.5 นี้แล้ว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ยังไม่ตื่นตัว อาจจะเพราะไม่ได้รับข้อมูลมากพอ ไม่ทราบถึงพิษภัยความอันตรายของมันว่าอันตรายกว่าฝุ่นทั่ว ๆ ไปอย่างไร
ฝุ่นละออง PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กมาก มีขนาด 2.5 ไมโครเมตร มีการเทียบให้เห็นภาพว่าเล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมถึง 25 เท่า เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วสามารถเข้าสู่หลอดลม ถุงลม และเข้าสู่กระแสเลือดได้เลย
องค์การอนามัยโลก (WHO) บอกถึงอันตรายของฝุ่น PM 2.5 ว่าส่งผลต่อการเกิดโรคหลายชนิด อย่างโรคติดเชื้อเฉียบพลัน โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด และเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่มที่ 1
องค์การอนามัยโลกกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศ โดยแนะนำค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 ไว้ที่ 25 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และกำหนดค่าวิกฤตไว้ที่ 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ขณะที่ค่าที่วัดได้ในกรุงเทพฯและหลายจังหวัดในประเทศไทยอยู่ที่ 46-90 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินค่ามาตรฐานไป 2-3 เท่าตัว
ข้อมูลจากที่ประชุมหน่วยงานภาครัฐแก้ปัญหาวิกฤตหมอกควันพิษ เปิดเผยสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาฝุ่นควันในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลว่า สาเหตุ 3 อันดับแรกคือ กิจกรรมการขนส่งทางถนน 54% การเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม 14% กิจกรรมภาคครัวเรือน 11%
ข้อมูลเชิงลึกพบว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็กเกิดจากรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งรถยนต์ที่ก่อให้เกิดฝุ่นมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก (รถปิกอัพ) รถบรรทุกขนาดใหญ่ รถบัสขนาดใหญ่
ปัญหามลพิษทางอากาศเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในเมืองหลวง หรือเมืองเศรษฐกิจที่มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่น
ในระหว่างที่เมืองไทยกำลังหาทางแก้ปัญหา มาดูว่าเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลกเขาจัดการแก้ไขอย่างไรเมื่อเกิดปัญหามลพิษทางอากาศขึ้น
ปารีส, ฝรั่งเศส
ปารีสสั่งให้งดใช้รถยนต์ในย่านศูนย์กลางเมืองช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ให้ใช้ขนส่งสาธารณะแทน โดยให้บริการฟรีตลอดช่วงมาตรการลดมลพิษทางอากาศ กระตุ้นให้เกิดการแชร์รถยนต์และจักรยาน โดยทำโครงการให้ยืมจักรยาน อีกทั้งห้ามใช้รถยนต์ตลอดถนนฝั่งขวาของแม่น้ำแซน และห้ามใช้รถยนต์ในถนนฌ็องเซลิเซ่ เดือนละครั้ง และห้ามรถยนต์เก่าและรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลขับเข้าเขตใจกลางเมืองอย่างสิ้นเชิง
นิวเดลี, อินเดีย
กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย สั่งห้ามใช้รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ และรถ SUV ที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่กว่า 2,000 ซีซี ยกเลิกการใช้รถแท็กซี่เครื่องยนต์ดีเซลกว่าหมื่นคัน นอกจากนี้ ยังทดลองนโยบายให้รถเลือกวิ่งวันคู่หรือวันคี่ และส่งเสริมการใช้รถมินิบัสออนดีมานด์แบบ Uber มากขึ้น
เนเธอร์แลนด์
รัฐบาลเนเธอร์แลนด์เสนอนโยบายห้ามขายรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลภายในปี 2025 อนุญาตให้ขายเพียงรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์เครื่องยนต์ไฮโดรเจนเท่านั้น อาจฟังดูโหดเกินไป แต่กฎหมายใหม่ที่เสนอนี้อนุญาตให้คนที่มีรถยนต์อยู่ก่อนประกาศใช้กฎหมายสามารถใช้รถคันเดิมต่อไปได้
ไฟรบวร์ก, เยอรมนี
ไฟรบวร์กเป็นเมืองที่มีทางจักรยานรวมระยะทาง 500 กิโลเมตร มีขนส่งระบบรางและระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพและราคาถูก Vauban หมู่บ้านชานเมืองแห่งหนึ่งในไฟรบวร์กห้ามไม่ให้ผู้คนจอดรถใกล้บ้านเรือน และให้เจ้าของจอดรถที่พื้นที่รอบนอกเมือง สำหรับผู้อยู่อาศัยที่ไม่ใช้รถยนต์จะได้รับอัตราค่าเช่าบ้านถูกกว่าคนที่มีรถ รวมถึงได้รับบริการขนส่งสาธารณะฟรี และมีจักรยานให้ใช้ฟรี
โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก
โคเปนเฮเกนให้ความสำคัญกับจักรยานมากกว่ารถยนต์ และปัจจุบันจำนวนจักรยานมีมากกว่าจำนวนประชากรไปแล้ว แนวคิดการใช้จักรยานนี้ได้ทำเป็นการคิดมูลค่าของจักรยานเทียบกับรถยนต์ โดยการขี่จักรยาน 1 ไมล์ให้มูลค่ากับชุมชนประมาณ 0.42 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การใช้รถยนต์ส่วนตัวระยะทาง 1 ไมล์ให้มูลค่าประมาณ 0.20 ดอลลาร์ นอกจากนี้ เมืองส่วนใหญ่ในเดนมาร์กทยอยหยุดใช้รถยนต์มากว่า 10 ปีแล้ว และมีแผนมุ่งจะเป็นเมือง “carbon neutral” หรือเมืองที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็น 0 ภายในปี 2025
เฮลซิงกิ, ฟินแลนด์
เมืองหลวงของฟินแลนด์มีแผนจะลดรถยนต์ลงอย่างฮวบฮาบโดยการทุ่มเงินลงทุนระบบขนส่งสาธารณะ จัดเก็บค่าธรรมเนียมที่จอดรถสูงขึ้น สนับสนุนการใช้จักรยานและการเดิน มีการแปลงถนนวงแหวนในเมืองชั้นในเป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเดิน และมีไอเดียจะทำให้ระบบขนส่งสาธารณะมีประสิทธิภาพดีมากจนไม่มีใครต้องการใช้รถยนต์ส่วนตัวภายในปี 2050
กอริติบา, บราซิล
เมืองในตอนใต้ของประเทศบราซิลที่มีประชากร 2 ล้านคน เป็นเมืองที่มีระบบรถโดยสารขนาดใหญ่และราคาถูกที่สุดในโลก ประชากรเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ของเมืองไปทำงานโดยการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ผลที่ได้คืออากาศที่ไม่มีมลพิษ และไม่มีปัญหารถติด
บังคาลอร์, อินเดีย
อีกหนึ่งเมืองใหญ่ในประเทศอินเดีย เมืองนี้กำลังแปลงรถบัส 6,000 คันให้เป็นรถบัสใช้ก๊าซธรรมชาติ ตอนนี้เมืองบังคาลอร์สามารถลดมลพิษทางอากาศได้แล้วประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ในเวลาเพียงไม่กี่ปี และ 1 ใน 4 ของคนที่เคยใช้รถยนต์ส่วนตัวเปลี่ยนไปใช้ขนส่งสาธารณะ
ลอนดอน, อังกฤษ
สำหรับการแก้ปัญหาในมหานครลอนดอนและทั่วอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษห้ามขายเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษสำหรับใช้ในครัวเรือนในปี 2022 และรัฐบาลยังอยู่ระหว่างการปรึกษาหารือว่าจะเลิกขายเชื้อเพลิงถ่านหินที่ใช้ในบ้าน และจำกัดการขายไม้เปียกที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงด้วย นอกจากนั้น จะออกมาตรการกำหนดให้ใช้วิธีทำเกษตรที่ปล่อยก๊าซแอมโมเนียลดลง โดยรัฐบาลจะช่วยอุดหนุนการลงทุนเทคโนโลยีที่จำกัดการปล่อยก๊าซแอมโมเนียได้
มาดริด, สเปน
รัฐบาลสเปนเพิ่งออกมาตรการจำกัดรถยนต์ที่จะวิ่งเข้าไปในเขตควบคุมคุณภาพอากาศย่านใจกลางกรุงมาดริด เมื่อปลายปี 2018 ที่ผ่านมา และกระตุ้นให้ประชาชนใช้จักรยานและขนส่งสาธารณะมากขึ้น โดยหวังว่ามาตรการนี้จะช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ 40 เปอร์เซ็นต์ สำหรับรถยนต์ที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเขตใจกลางเมืองได้ต้องผ่านการตรวจวัดการปล่อยไอเสียรถยนต์รุ่นเก่าที่ก่อมลพิษมากจะถูกห้ามขับเข้าไปในเขตควบคุม
แนวทางการแก้ปัญหาของทุกเมืองทุกประเทศที่ยกมาพุ่งไปที่เรื่องการลดใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เนื่องจากเป็นสาเหตุอันดับแรกที่ทำให้เกิดฝุ่นควันเช่นกันกับในเมืองไทย
มองมาที่การแก้ปัญหาในเมืองไทย ระยะแรกเป็นการแก้เฉพาะหน้าอย่างการฉีดน้ำขึ้นไปบนท้องฟ้า ซึ่งทำโดยไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์มารองรับว่าแก้ปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน กระทั่งปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น จึงมีความตื่นตัวจากภาครัฐออกมาสั่งการเรียกประชุมหารือความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยแผนเฉพาะหน้ากรุงเทพมหานครจะประสานกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) และกรมการขนส่งทางบกตั้งจุดตรวจจับรถที่ปล่อยควันดำหรือควบคุมการใช้รถที่อายุการใช้งานเกิน 7 ปี หากพบว่ามีควันดำเกินค่ากำหนด จะสั่งพักการใช้รถ 1 เดือน ให้นำรถไปปรับเปลี่ยนคุณภาพใหม่
แนวทางแก้ปัญหาระยะสั้น เน้นการตรวจสอบบำรุงรักษารถให้อยู่ในสภาพดี การตรวจจับควันดำ การปรับหรือชะลอแผนการก่อสร้าง ให้หน่วยงานราชการงดใช้รถเครื่องยนต์ดีเซล ส่วนแผนระยะยาวจะส่งเสริมให้เกิดโครงข่ายการบริการ
ขนส่งสาธารณะเชื่อมโยงระบบราง การใช้รถโดยสารที่ใช้ก๊าซ NGV รถไฟฟ้า รถไฮบริด การจัดหาจุดจอดรถสำหรับผู้ใช้ขนส่งสาธารณะ และแนวทางการบังคับใช้มาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงและรถยนต์ใหม่ให้เร็วขึ้นจากกำหนดเวลาแผนเดิม มีแนวทาง มีแผนแล้ว จะได้เห็นการปฏิบัติที่เข้มงวดจริงจังแค่ไหน นั่นเป็นสิ่งที่ต้องจับตามองและต้องกระตุ้นกันตลอดเวลา
ขอบคุณข้อมูลจาก prachachat.net
E-Sports กีฬาใหม่มาแรงแห่งยุค เปลี่ยนเด็กติดเกมสู่อนาคตของประเทศ
พิราภรณ์ วิทูรัตน์ : เรื่อง
เด็กติดเกม เป็นปัญหาที่พ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนแสดงความกังวลมาโดยตลอด ทว่าปัจจุบันเกมออนไลน์ได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคสมัยที่ถูกจัดประเภทให้เป็นการแข่งขันอย่างเอาจริงเอาจังในนามของ E-Sports (อีสปอร์ต) กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ยอดฮิตที่กำลังมาแรงทั้งในและต่างประเทศ
แม้ว่ากระแสของอีสปอร์ตจะมาแรงขนาดไหนก็ยังถูกตั้งคำถามถึงคุณประโยชน์ของมันว่า อีสปอร์ตเหมาะสมที่จะถูกนับรวมในการแข่งขันกีฬาจริงหรือ อีสปอร์ตสร้างประโยชน์ให้แก่เยาวชนมากแค่ไหน และการผลักดันให้เด็กเข้าสู่การแข่งขันอย่างเต็มรูปแบบจะยิ่งสร้างผลร้ายให้เด็กมากกว่าหรือไม่
“ดีไลฟ์-ประชาชาติธุรกิจ” จะพาคุณผู้อ่านไปหาคำตอบสำหรับประเด็นที่ว่านี้จากเด็กติดเกมสู่โอกาสของประเทศ
“เราจะทำอย่างไรให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตเกมทั้งระบบ” คือคำถามสำคัญที่ ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ตั้งคำถามปลายเปิดไว้ถึงบทบาทของอุตสาหกรรมเกมประเทศไทย
เขามองว่า สิ่งที่อุตสาหกรรมเกมไทยต้องตระหนักอย่างยิ่งคือ การเปลี่ยนแปลงแบบยกทั้งระบบ ทำให้ไทยเป็นแหล่งผลิต ส่งออก และนำเงินเข้าประเทศ ด้วยการนำฟันเฟืองอย่าง “เด็กติดเกม” ปรับเข้ากับการพัฒนาประเทศด้วยโอกาสสำคัญนี้
“ในเมื่อเรามีวัตถุดิบอย่างน้อง ๆ ที่มีใจรักในการเล่นเกมแล้ว และทุกวันนี้อุตสาหกรรมดิจิทัลกำลังโตขึ้นทุกวัน เราต้องเปลี่ยนเด็กติดเกมเหล่านี้เข้าสู่ระบบ ดึงให้เขาเข้าร่วมอะคาเดมีเพื่อจะได้รู้ว่าต้องเล่นเกมแบบไหนถึงจะนำไปสู่อาชีพในอนาคตที่วางอยู่บนพื้นฐานของความรักความชอบได้
เป็นการส่งเสริมกันทั้งสองฝ่าย เด็กได้อยู่กับสิ่งที่ชอบและสร้างอาชีพให้เขา ประเทศก็มีรายได้จากการเป็นแหล่งอุตสาหกรรมผลิตเกมเต็มตัว ไม่ต้องพึ่งพาการผลิตจากประเทศอื่น สิ่งเหล่านี้จะทำให้การผลิตของประเทศไทยสูงขึ้น อุตสาหกรรมและการลงทุนส่วนอื่น ๆ จะตามมาเอง”
เส้นทางสู่โอกาส ต้องผลักดันสู่ “UEC”
ภาพรวมของอีสปอร์ตในตลาดโลกมีการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในรอบปีที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกามีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 30% เกาหลีใต้เติบโตถึง 40% และไทยอีกประมาณ 30% ด้วยตัวเลขที่น่าสนใจนี้ บริษัท อินโฟเฟด จำกัด ผู้ก่อตั้งสนามกีฬา “Thailand E-Sports Arena” จึงมองว่า เป็นเวลาอันประจวบเหมาะที่จะเร่งพัฒนาผลักดันให้การเล่นเกมสนุก ๆ ของเยาวชนเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นโดยการจัดโครงการ University E-Sports Championship (UEC) การแข่งขันอีสปอร์ตระดับมหาวิทยาลัยเต็มรูปแบบครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีดีป้าร่วมสนับสนุนด้วย
นายจิรยศ เทพพิพิธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทอินโฟเฟด จำกัด ให้ข้อมูลว่า UEC แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ 1.การจัดการแข่งขันทัวร์นาเมนต์ในระดับมหาวิทยาลัย 2.อะคาเดมีสำหรับเป็นแหล่งบ่มเพาะเยาวชนที่มีความสนใจด้านเทคโนโลยี ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะเพียงอีสปอร์ตเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมเยาวชนให้เติบโตสู่การเป็นบุคลากรในอุตสาหกรรมเกมและเทคโนโลยี ทั้งเกมแคสเตอร์ โปรดักชั่น ไลฟ์บรอดแคสต์ หรืออีเวนต์ ออร์แกไนเซอร์
“สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงอย่างแรกคือ ทำอย่างไรเยาวชนและประเทศจึงจะได้ประโยชน์จากตรงนี้ จึงกลับไปมองที่ กลุ่มเป้าหมายก่อน คนรุ่นใหม่ที่สนใจอีสปอร์ตมีอายุเฉลี่ยระหว่าง 18-25 ปี คนวัยนี้ส่วนใหญ่ยังอยู่ในมหาวิทยาลัย เขามีความพร้อมหลายด้าน สังเกตจากบางมหาวิทยาลัยตอนนี้เริ่มมีหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับอีสปอร์ตแล้ว ถ้าเราไม่ให้การสนับสนุนผู้เล่นก็ไม่ได้ลดน้อยลง แต่มันจะอยู่ใต้ดิน เราต้องดึงความชอบเหล่านี้มาพัฒนาต่อยอดให้เด็กและประเทศได้ประโยชน์ร่วมกัน” นายจิรยศกล่าว
อีสปอร์ตกับเด็กติดเกมไม่ใช่กลุ่มเดียวกัน
ฝั่งดีป้า ผศ.ดร.ณัฐพลให้ข้อมูลว่า ก่อนที่ดีป้าจะตัดสินใจสนับสนุนโครงการนี้ ทางองค์กรได้รับข้อมูลว่า มีผลสำรวจที่ให้ข้อสรุปว่า อีสปอร์ตทำให้เด็กติดเกมมากขึ้น ดีป้าจึงทำการเก็บข้อมูลเชิงสถิติในหัวข้อ “การใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิดพลาดต่อการดำรงชีวิต” ซึ่งจากการสำรวจครั้งนี้พบว่ามีเยาวชนอายุระหว่าง 18-25 ปี ในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิดพลาดต่อการดำรงชีวิตเพียง 6 จาก 100 คนเท่านั้นที่เกิดจากการติดเกม นอกเหนือจากนั้นเกิดจากสาเหตุอื่น
“เด็กไทยในวัยนี้ประมาณ 49% มีความเสี่ยงได้รับข้อมูลไม่ถูกต้องจากการใช้อินเทอร์เน็ต แต่ใน 49% มีเพียง 12% ที่เกิดจากการติดเกม เท่ากับว่ามีแค่ 6 จาก 100 คนเท่านั้น เราเชื่อว่า 6 คนที่ว่าไม่ได้เกิดจากคนที่เข้ามาอยู่ในระบบของอีสปอร์ต เราต้องซัพพอร์ตให้เด็ก 6 คนนี้เข้าไปอยู่ในระบบ ทำอย่างไรให้ความสนุกความชอบเหล่านั้นนำไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต นี่คือโจทย์สำคัญ”
ด้านนายจิรยศ เทพพิพิธ กล่าวว่า ต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่า ไม่ใช่ทุกเกมที่นำเข้ามาอยู่ในระบบอีสปอร์ตได้ การเล่นเกมมีหลายรูปแบบ อย่างการเล่นเพื่อเอาชนะที่เรียกว่า “play to win” เป็นการเล่นเพื่อความสนุกอย่างเดียว ไม่เหมือนกับอีสปอร์ตที่ต้องใช้ทักษะการวางแผนเป็นทีม ซึ่งนอกจากความสนุกและประโยชน์ที่เด็กได้รับแล้ว อีสปอร์ตยังช่วยส่งเสริมให้เกิดอีโคโนมิกอิมแพ็กต์หลายจุดเหมือนกับการแข่งขันกีฬาชนิดอื่น ๆ
“อะคาเดมี” ประสบการณ์จริงสู่อาชีพในอนาคต
ผศ.ดร.ณัฐพลมองว่า แม้ว่าปัจจุบันมหาวิทยาลัยหลายแห่งมีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเทคโนโลยีเกมโดยตรงแล้วก็ตาม แต่การเรียนรู้จากอะคาเดมีแตกต่างจากการเรียนในห้องเรียน ปัจจุบันแต่ละบริษัทต้องการเด็กที่ทำงานได้จริง ซึ่งการได้เรียนรู้โดยตรงจากอะคาเดมี
จะคล้ายกับการฝึกงาน แบ่งการฝึกไปตามความสนใจของเด็ก ทำให้บุคลากรที่ได้ตรงกับความต้องการของภาคเอกชนอย่างแท้จริง
“มันคงดีกว่าถ้าเราดึงให้น้อง ๆ เข้ามาอยู่ในระบบที่สามารถดู career path ได้ว่าควรไปทางไหน ก็เลยมานั่งคุยกันว่าต้องดึงคนเข้าสู่ระบบการศึกษาแบบใหม่ เช่น มีห้องอะคาเดมีสำหรับคนที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับการตัดต่อเกม การเขียนสตอรี่เกม ดีไซน์แคแร็กเตอร์ของเกม สิ่งเหล่านี้สามารถทำควบคู่กับการเรียนในระบบการศึกษาแบบเดิมได้”
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลบอกอีกว่า ขั้นตอนการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในครั้งนี้จะเริ่มจากบริษัทเอกชนที่มีความสนใจในตัวเด็กของอะคาเดมีเข้ามาพูดคุย ทางพาร์ตเนอร์ของดีป้าออกทุนให้เด็กครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งออกโดยบริษัทเอกชนที่ต้องการตัวเด็ก จากนั้นทำข้อตกลงกันว่า เมื่อเด็กเรียนจบแล้วบริษัทจะต้องจ้างเข้าทำงานทันที เป็นการเรียนและทำงานควบคู่กันไปเหมือนเด็กต่างชาติเกมโค้ดดิ้ง ความสนุกสู่การพัฒนาประเทศ
อีกหนึ่งแนวทางที่ผู้อำนวยการดีป้ากำลังเร่งมือทำก็คือ การผลิตเกมโค้ดดิ้ง เกมที่จะช่วยให้เด็กเล็ก ๆ
ที่สนใจการเล่มเกมได้สาระความรู้การเขียนโค้ดโปรแกรม ซึ่งหากทำได้นอกจากจะเป็นประโยชน์โดยตรงแล้ว ยังช่วยส่งเสริมให้เกิดความภาคภูมิใจที่สามารถเขียนโค้ดได้เองด้วย อย่างล่าสุดกับเกมหมูป่า เกมผจญภัยที่เพิ่งเปิดตัวล่าสุดไปเมื่อวันเด็กแห่งชาติที่ผ่านมาก็ได้รับฟีดแบ็กจากเด็ก ๆ ดีเกินคาด
“เกมอาจจะไม่ได้ใช้ชื่อว่าโค้ดดิ้งตรง ๆ ถ้าเป็นแบบนั้นเด็กก็คงเบื่อและไม่อยากเล่น อาจจะชื่อเกมผี เกมหมูป่า อะไรที่ดึงดูดเขาได้ แต่ในเกมนั้นต้องเป็นการสอนสอดแทรกโค้ดดิ้งไปในตัว เป็นเกมผจญภัยแต่สอดแทรกโค้ดดิ้งเข้าไปด้วย เมื่อเข้าสู่โลกดิจิทัลการทำโคดดิ้งเป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนาองค์ความรู้ เราต้องค่อย ๆ สอนและให้ความรู้ไปพร้อม ๆ กับความสนุกความชื่นชอบของเขาด้วย”
ทั้งขั้นตอนการทำโค้ดดิ้ง รวมถึงอะคาเดมีอีสปอร์ต ผศ.ดร.ณัฐพลมองว่า การมีมุมของผู้ปกครองที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับเด็ก ๆ ในการเรียนรู้เหล่านี้ได้จะช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจ มองเห็นอาชีพและอนาคตที่เกิดจากความชื่นชอบในโลกยุคดิจิทัลชัดเจนมากขึ้น เหมือนกับการนั่งรอรับ-ส่งลูก ๆ จากการเรียนติวเตอร์ฟิสิกส์เคมีในสถาบันกวดวิชาทั่วไป
การเล่นเกมจะไม่ใช่เรื่องไร้สาระอีกต่อไป เพราะอีสปอร์ตไม่ใช่กิจกรรมเพื่อ “entertainment” เท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างรายได้-สร้างอาชีพจนกลายเป็น “edutainment” รูปแบบใหม่ ๆ การเตะฟุตบอลหรือเล่นบาสจึงไม่ใช่นิยามของกีฬาเพียงอย่างเดียว แต่กีฬาอิเล็กทรอนิกส์อย่างอีปอร์ตก็นับเป็นอีกแขนงหนึ่งที่น่าจับตามองในโลกยุคดิจิทัลไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
ขอบคุณข้อมูลจาก prachachat.net
ใช้พลังบวกปะทะพลังลบ เอาความทุกข์ออกจากใจ
ในหลายครั้งเมื่อเราตกอยู่ในสภาวะที่เศร้าหมอง หรือมีความทุกข์ มักเป็นเรื่องที่ยากที่เราจะกลับมาสดใสร่าเริงอีกครั้ง แต่เมื่อเราผ่านมันไปได้และมองย้อนกลับไปจะมองเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องตลก แต่ตราบใดที่เรายังติดอยู่ภาวะเศร้าหมอง ก็ยากที่จะหลุดออกมา…
วันนี้ทีมเว็บไซต์ สสส. ขอนำเสนอเคล็ดลับในการสร้างพลังบวกและขจัดพลังลบให้กับผู้อ่าน เพื่อให้มีพลังด้านบวกในการทำงาน และขจัดพลังลบที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต โดยเคล็ดลับนี้ ครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ ครูผู้มากประสบการณ์ได้แนะนำเอาไว้ว่า
- ใช้ภาษาที่เป็นบวก มีงานวิจัยออกมาเยอะมากว่า ทุกครั้งที่เราพูดในเรื่องที่เป็นลบ จะส่งผลกับเคมีในเลือด และทำให้เลือดเป็นกรด เมื่อไหร่ที่เราจดจ่อกับเรื่องด้านลบ ก็เปรียบเสมือนว่าเรากำลังวางยาพิษให้กับจิตใจของตัวเองและทำให้ร่างกายของเราอ่อนแอตามที่เราพูดออกไป
- หากไม่ล้มเลิกก็ไม่ล้มเหลว หากวันนี้ทำไม่ได้ให้บอกกับตัวเองว่าพรุ่งนี้เริ่มใหม่ ต้องให้กำลังใจตัวเอง และอย่ารู้สึกผิด เพราะการรู้สึกผิดที่ล้มเหลวจะยิ่งทำให้เรารู้สึกผิดมากกว่าเดิม หากเราทำพลาดต้องอย่าดราม่า อย่าไปให้ความสำคัญ
- มองข้อผิดพลาดให้เป็นเรื่องบวก หรือมองให้เป็นข้อดี มองเป็นการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นให้เราถามกับตัวเองว่า จะเรียนรู้อะไรกับเหตุการณ์นี้ มันมีข้อดีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และนำข้อดีนั้นมาเป็นแหล่งพลังงานให้กับตนเอง
แต่หากเรารู้สึกท้อแท้หดหู่ ออกจากความคิดแย่ ๆ ไม่ได้ ‘ครูเงาะ’ ก็ได้แนะนำเคล็ดลับเอาไว้ ดังนี้
- อย่าหลอกตัวเอง ถ้าเศร้าต้องยอมรับว่าเศร้า ถ้าอยากร้องไห้ต้องร้อง แต่เมื่อร้องไห้เสร็จ เศร้าเสร็จจะต้องจบ และเจริญสติให้กับตัวเอง ใช้สติอยู่กับปัจจุบัน เพราะสติคือฐานทั้งหมดของการเปลี่ยนแปลง คนเราเปลี่ยนได้หากมีสติ อยู่กับปัจจุบัน หากช่วงไหนไม่เศร้าก็ไม่ต้องเศร้า ไม่จำเป็นต้องเศร้าตลอดเวลาก็ได้ ให้อยู่กับลมหายใจปัจจุบัน
- เปลี่ยนร่างกาย ทำให้ร่างกายให้อยู่ในสภาวะที่เป็นบวก ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
- ย้ายโฟกัส เปลี่ยนไปโฟกัสในเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่อนุญาตให้ตัวเองคิดในเรื่องที่เศร้า หากปัญหาเป็นเรื่องที่แก้ได้ให้โฟกัสกับการแก้ปัญหา แต่หากเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้ให้โฟกัสในเรื่องอื่น
- เลือกคำพูดที่เหมาะสมกับเหตุการณ์ ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพื่อให้เราได้เรียนรู้อะไร เราโชคดีอย่างไรทีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับเรา และเหตุการณ์นี้ทำให้เราเติบโตได้อย่างไร
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ต้องอาศัยเวลา ไม่ใช่ว่าทำแล้วจะหายเศร้าหรือหายทุกข์ในทันที แต่จะต้องค่อย ๆ ทำ และหมั่นฝึกสร้างพลังบวกอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ตนเองมีวัคซีนต้านเศร้า เมื่อถึงจุดนั้นปัญหาเล็กน้อยจะไม่สามารถทำอะไรเราได้
ขอบคุณข้อมูลจาก thaihealth.or.th
ราคาทองทุกชนิดตามประกาศสมาคมค้าทองคำ ประจำวันที่ 28/01/
ชนิดความบริสุทธิ์ของทอง | ราคาขาย/บาท | ราคารับซื้อ/บาท | ราคารับซื้อ/กรัม |
ทองคำแท่ง 96.5% | 19,450.00 | 19,350.00 | n/a |
ทองรูปพรรณ 96.5% | 19,950.00 | 18,995.48 | 1,253.00 |
ทองรูปพรรณ 99.99% | n/a | 19,677.68 | 1,298.00 |
ทองรูปพรรณ 90% | n/a | 17,095.93 | 1,127.70 |
ทองรูปพรรณ 80% | n/a | 15,196.38 | 1,002.40 |
ทองรูปพรรณ 50% | n/a | 8,550.24 | 564.00 |
ทองรูปพรรณ 40% | n/a | 6,655.24 | 439.00 |
ราคาน้ำมัน ประจำวันที่ ราคาน้ำมัน ประจำวันที่ 28/01/
ปตท. |
บางจาก |
เชลล์ |
เอสโซ่ |
คาลเท็กซ์ |
ไออาร์พีซี |
พีที |
ซัสโก้ |
เพียว |
ซัสโก้ดีลเลอร์ |
|
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
แก๊สโซฮอล์ 95 | 26.35 | 26.35 | 26.35 | 26.35 | 26.35 | 26.35 | 26.35 | 26.35 | 26.35 | 26.35 |
แก๊สโซฮอล์ 91 | 26.08 | 26.08 | 26.08 | 26.08 | 26.08 | 26.08 | 26.08 | 26.08 | 26.08 | 26.08 |
แก๊สโซฮอล์ E20 | 23.34 | 23.34 | 23.34 | 23.34 | 23.34 | – | 23.34 | 23.34 | 23.34 | 23.34 |
แก๊สโซฮอล์ E85 | 19.34 | 19.34 | – | – | – | – | – | 19.34 | – | – |
เบนซิน 95 | 33.76 | – | – | – | 34.21 | – | 34.26 | 34.06 | – | 34.06 |
ดีเซล | 26.09 | 26.09 | 26.09 | 26.09 | 26.09 | 26.09 | 26.09 | 26.09 | 26.09 | 26.09 |
ดีเซลพรีเมี่ยม | 29.69 | 29.96 | 30.15 | 30.15 | 30.15 | – | – | – | – | – |
แก๊ส NGV | 16.07 | 16.07 | – | – | – | – | – | – | – | – |