ชนิดความบริสุทธิ์ของทอง |
ราคารับซื้อต่อกรัม |
ราคารับซื้อ/บาท |
ราคาขายออก/บาท |
ทองคำแท่ง 96.5% | n/a | 19,750.00 | 19,850.00 |
ทองรูปพรรณ 96.5% | 1,279.00 | 19,389.64 | 20,350.00 |
ทองรูปพรรณ 90% | 1,151.10 | 17,450.68 | n/a |
ทองรูปพรรณ 50% | 576.00 | 8,732.16 | n/a |
ทองรูปพรรณ 40% | 448.00 | 6,791.68 | n/a |
ทองรูปพรรณ 99.99% | 1,325.00 | 20,087.00 | n/a |
อสังหาฯมี.ค.61เปิด 16,753 หน่วย มูลค่ารวมกว่า 6.8หมื่นล.
มี.ค.61 เดือนเดียวเปิด 16,753 หน่วย มูลค่าการพัฒนาโครงการรวม 68,024 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นผลจากงานมหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนมีนาคม จึงมีการเปิดตัว “ชิมลาง” กันมากมาย
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (www.area.co.th) เผยว่า ในเดือนมีนาคม 2561 อสังหาริมทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีการเปิดตัวค่อนข้างคึกคักเป็นพิเศษ เนื่องจากในเดือนนี้มีมหกรรมบ้านและคอนโดครั้งที่ 38 จึงมีโครงการบางส่วนนำโครงการมาเปิดขายในงานนี้ด้วย โดยมีถึง 50 โครงการ เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2561 จำนวน 27 โครงการ (เดือนกุมภาพันธ์มี 23 โครงการ) ซึ่งทำให้มีจำนวนหน่วยขายและมูลค่าโครงการเพิ่มขึ้นตาม และลักษณะการพัฒนาเป็นการพัฒนาในกลุ่มที่อยู่อาศัยทั้งหมด 50 โครงการ มีจำนวนหน่วยขายรวม 16,753 หน่วย มีมูลค่าการพัฒนาโครงการรวม 68,024 ล้านบาท
การเปิดตัวส่วนใหญ่ถึงสามในสี่เป็นโครงการอาคารชุด มากที่สุด โดยมีจำนวนหน่วยเปิดขาย 12,368 หน่วย (73.8%) รองลงมา คือ ทาวน์เฮ้าส์ 3,061 หน่วย (18.3%) ส่วนอันดับ 3 คือ บ้านบ้านเดี่ยว 1,084 หน่วย (6.5%) ของจำนวนหน่วยขายที่เปิดขายใหม่ทั้งหมด ทำเลที่มีการเปิดขายใหม่ส่วนใหญ่ในเดือนนี้ สำหรับทาวน์เฮ้าส์จะตั้งอยู่ในบริเวณย่านบริเวณกรุงเทพรอบนอก และเขตชานเมือง เช่น ย่านรังสิต-นครนายก คลองหลวง บางกรวย-ไทรน้อย พระราม 2 กาญจนาภิเษก (ฝั่งตะวันออก) กาษจนาภิเษก-บางบัวทอง เป็นต้น
บ้านเดี่ยวจะตั้งอยู่บริเวณถนนวัชรพล กาญจนาภิเษก (ฝั่งตะวันออก) สายไหม พัฒนาการ ส่วนอาคารชุดที่มีการเปิดใหม่ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพชั้นกลาง บริเวณตามแนวรถไฟฟ้า และส่วนต่อขยาย เช่น บริเวณถนนพหลโยธิน รัตนาธิเบศร์ ลาดพร้าว แจ้งวัฒนะ และอาคารชุดราคาแพง ซึ่งส่วนใหญ่จะเปิดขายในโซนกรุงเทพชั้นใน ย่านธุรกิจ เช่น ถนนสุขุมวิท รัชดาภิเษก และเพชรบุรี เป็นต้น
ในเดือนมีนาคม โครงการเปิดขายใหม่มีจำนวนหน่วยขายและมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่ราคาขายเฉลี่ยกลับลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาด้วย ซึ่งมีราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยลดลง (ประมาณ 10%) เนื่องจากการพัฒนาในเดือนนี้มีจำนวนหน่วยขายที่มีราคาขายไม่เกิน 3 ล้านบาท อยู่ประมาณ 62.4% จึงทำให้ราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยโดยรวมของเดือนนี้ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา เมื่อเปรียบเทียบกับราคาขายเฉลี่ยของเดือนก่อน ซึ่งราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยของเดือนนี้มีราคาเฉลี่ยที่ประมาณ 4.060 ล้านบาท แต่เดือนที่ผ่านมามีราคาขายเฉลี่ยที่ 4.520 ล้านบาท ซึ่งแสดงถึงแนวโน้มการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ปานกลาง เป็นสำคัญ
เมื่อพิจารณาถึงผู้ประกอบการที่เปิดตัวโครงการใหม่ในเดือนนี้ จะพบว่าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (มหาชน) จำนวน 12 บริษัท คือ บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) บริษัท อนันดาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) บริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อารียา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) มีบริษัทในเครือบริษัทในตลาดหลักทรัพย์อีก 9 บริษัท และบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์อีก 14 บริษัท
การเปิดตัวในเดือนมีนาคม 2561 มีมากกว่าเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์รวมกันเสียอีก แต่ใช่ว่าจะสะท้อนว่าตลาดดีขึ้นจริงแล้ว อาจเป็นการเปิดเพื่อเข้าร่วมงานขายในงานมหกรรมอสังหาริมทรัพย์
http://www.thansettakij.com
เศรษฐกิจไทยแกร่ง! อสังหาฯ ครึ่งปีโตต่อ
สศค. คงเป้าเศรษฐกิจปี 61 ที่ 4.2% แม้เจอแรงกดดัน ทั้งสงครามการค้า ปัญหาในซีเรีย เหตุตัวเลขไตรมาสแรกโตเกินคาด ทั้งภาคส่งออก-ท่องเที่ยว ด้าน เอกชนมองต่าง สงครามการค้ากดดันส่งออก ปรับเป้าเหลือ 3.7% ขณะที่ ตลาดอสังหาริมทรัพย์แนวโน้มดีขึ้น ทั้งการเปิดตัวโครงการใหม่ ยอดขายและยอดโอนที่เพิ่มขึ้น
นายศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สศค. ยังคงเป้าหมายการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2561 ไว้ที่ 4.2% เพราะตัวเลขไตรมาส 1 ที่ออกมา ดีกว่าคาดมาก ทั้งการส่งออกที่ขยายตัวสูงถึง 17.7% จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเกินเป้าหมาย ยอดการเบิกจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้น สะท้อนว่า ไตรมาสแรกยังไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่กดดัน และข่าวดี คือ ไทยไม่ติดในรายชื่อที่สหรัฐฯ ระบุว่า แทรกแซงค่าเงินเพื่อผลทางการค้า
ส่วนปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ นั้น ไม่กระทบต่อสินค้าไทยโดยตรง ขณะที่ สงครามที่เกิดขึ้นในซีเรีย ถือว่า ยังห่างไกลจากไทยมาก และไทยไม่ได้ซื้อน้ำมันจากซีเรีย
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปี 2561 ฟื้นตัวต่อเนื่องที่ 3.9% ตามแรงส่งของภาคการส่งออก ภาคท่องเที่ยวและการลงทุนภาครัฐ แต่ไทยยังเผชิญปัจจัยภายนอกที่เหนือการควบคุม 3 ด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น กระแสกีดกันทางการค้า ซึ่งกระทบทั้งในระดับรายสินค้าและรายประเทศคู่ค้า โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ประเทศจีนที่มีการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ในปี 2560 สูงถึง 3.75 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเผชิญกระแสการโยกย้ายเงินทุน ในช่วงที่รอความชัดเจนจากประเด็นการค้า อาจทำให้ดอลลาร์อ่อนค่า สวนทางกับเงินสกุลเอเชียและเงินบาท
อย่างไรก็ตาม หากสหรัฐฯ ส่งสัญญาณการปรับดอกเบี้ยชัดเจนขึ้น อาจส่งผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว กระทบต่อค่าเงินและสินทรัพย์ทั่วโลกให้ผันผวน และสุดท้ายกระแสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศแกนหลักของโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ จะมีผลต่อทิศทางผลตอบแทนในตลาดการเงินโลกและไทยได้
นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัยธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ศูนย์วิจัยฯ ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2561 จากเดิม 4.0% เหลือ 3.7% เนื่องจากการลงทุนของภาคเอกชนยังไม่ฟื้นกลับมาอย่างที่คาดการณ์ไว้ เพราะขาดความเชื่อมั่น หลังจากเลื่อนการเลือกตั้งจากเดิมที่จะมีขึ้นในปลายปีนี้เป็นต้นปี 2562 ส่งผลให้ภาคเอกชนตัดสินใจเลื่อนการลงทุนออกไปเป็นปีถัดไป เพื่อรอความชัดเจน ซึ่งสะท้อนการปรับลดการลงทุนของภาคเอกชนจาก 3.8% เหลือ 2.5% ขณะที่ การบริโภคภาคเอกชนปรับลดจาก 3.4% เหลือ 3.1% ส่วนการบริโภคภาครัฐลดลงจาก 3.5% เหลือ 3.3%
ขณะเดียวกัน ที่สงครามการค้าถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กดดัน เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญผลกระทบทางอ้อม เนื่องจากไทยเป็นห่วงโซ่การส่งออก หากสถานการณ์รุนแรง โดยสหรัฐฯ ส่งสัญญาณขึ้นกำแพงภาษีชัดเจน จะมีผลทำให้ภาคส่งออกไทยได้รับผลกระทบพ่วงไปด้วย จึงปรับการเติบโตของส่งออกปีนี้เหลือในรูปเงินบาท เติบโตเพียง 5.5% จากเดิมที่คาดเติบโต 5.6% แต่หากดูการส่งออกในรูปสกุลเงินดอลลาร์ ยังเติบโตอยู่ที่ 7.4% จากคาดการณ์เดิมที่ 4.5%
ไตรมาสแรกปีนี้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภาพรวมแนวโน้มดีขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปี 2560 ไม่ว่าจะเป็น การเปิดตัวโครงการใหม่ ยอดขายและยอดโอนที่ขยายตัวเพิ่ม จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ดีขึ้น ประกอบกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างหนักและต่อเนื่อง เร่งกระตุ้นยอดขายตั้งแต่ต้นปี ทั้งนี้ นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ณ ไตรมาสแรกปี 2561 เอพีสามารถสร้างยอดขายได้แล้วถึง 10,000 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 168% โดยสินค้าแนวราบเติบโตสูงถึง 64% หรือเท่ากับ 5,200 ล้านบาท และคอนโดมิเนียมโตถึง 770% หรือเท่ากับ 4,800 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทสามารถสร้างยอดขายได้แล้ว 30% ของเป้ายอดขายปี 2561 ที่ตั้งไว้ 33,500 ล้านบาท
“เชื่อว่า กำลังซื้อในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะในกลุ่มตลาดที่อยู่อาศัยระดับบน เนื่องจากเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูงและได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจไม่มากนัก สำหรับภาพรวมตลาดในไตรมาส 2 เชื่อว่า การแข่งขันจะเข้มข้นกว่าในไตรมาสที่ผ่านมา ด้วยจำนวนโครงการใหม่ที่จะทยอยเปิดตัวมากขึ้น และด้านซัพพลายที่ตอบโจทย์ตลาดระดับกลางบนขึ้นไป ยังคงได้รับการตอบรับที่ดี”
ขณะที่ นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า ไตรมาสแรกของปี 2561 โดยรวมการยื่นขอกู้กับยอดการโอนในโครงการต่าง ๆ นั้น ยังคงมีทิศทางสอดคล้องกัน โดยเฉพาะกลุ่มตลาดบนเป็นไปอย่างคึกคัก สำหรับโครงการเปิดใหม่นั้น พบส่วนใหญ่โครงการถูกพัฒนาเพื่อเน้นกลุ่มลูกค้าต่างชาติมากขึ้น เช่น ชาวจีน ขณะเดียวกันบริษัทผู้พัฒนาจะมีการควบรวม หรือ ร่วมทุนกับต่างชาติมากขึ้น
http://www.thansettakij.com
ปชช.กว่า 45.9% มองเศรษฐกิจไทย3เดือนแรกปีนี้แย่ลง ไม่เชื่อมั่นนโยบาย
ผลสำรวจปชช.ส่วนใหญ่กว่า 45.9% มองเศรษฐกิจไทย3เดือนแรกปีนี้แย่ลง ไม่เชื่อมั่นนโยบาย และหวังรัฐบาลหลังเลือกตั้งจะเข้ามาทำงานให้ดีขึ้น
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “เศรษฐกิจไทยดีขึ้นหรือไม่ ใน 3 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2561 ? ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9 – 10 เมษายน 2561โดยสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยในช่วง 3 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2561 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธี แบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม – มีนาคม 2561) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.92 ระบุว่า เศรษฐกิจแย่ลง รองลงมา ร้อยละ 37.52 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 16.24 ระบุว่า เศรษฐกิจดีขึ้น และร้อยละ 0.32 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละด้านที่รัฐบาลปัจจุบันกำลังดำเนินอยู่ พบว่า ด้านเพิ่มรายได้ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.08 ระบุว่า เท่าเดิม รองลงมา ร้อยละ 25.28 ระบุว่า แย่ลง ร้อยละ 21.76 ระบุว่า ดีขึ้น และร้อยละ 0.88 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านลดค่าครองชีพ (ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.76 ระบุว่า เท่าเดิม รองลงมา ร้อยละ 33.76 ระบุว่า แย่ลง ร้อยละ 18.08 ระบุว่า ดีขึ้น และร้อยละ 0.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านลดภาระหนี้สิน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.32 ระบุว่า เท่าเดิม รองลงมา ร้อยละ 25.92 ระบุว่า แย่ลง ร้อยละ 10.08 ระบุว่า ดีขึ้น และร้อยละ 1.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน (ซื้อง่ายขายคล่อง) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.80 ระบุว่า เท่าเดิม รองลงมา ร้อยละ 39.84 ระบุว่า แย่ลง ร้อยละ 14.72 ระบุว่า ดีขึ้น และร้อยละ 0.64 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (เช่น ที่อยู่อาศัย ระบบคมนาคม การสื่อสารหรือโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้าและประปา) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.60 ระบุว่า เท่าเดิม รองลงมา ร้อยละ 37.52 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 14.16 ระบุว่า แย่ลง และร้อยละ 0.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
สำหรับระดับความสุขจากนโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.92 ระบุว่า มีความสุขเท่าเดิม เพราะ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเมื่อก่อน เศรษฐกิจเหมือนเดิม ไม่ได้แย่ลงและก็ไม่ได้ดีขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า นโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อประชาชน รองลงมา ร้อยละ 21.12 ระบุว่า มีความสุขลดลง เพราะ สภาวะเศรษฐกิจ แย่ลง ไม่มีอะไรดีขึ้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หนี้สินเพิ่มขึ้น แต่รายได้ลดลง ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่เคยได้รับประโยชน์จากนโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ เลย และร้อยละ 20.96 ระบุว่า มีความสุขเพิ่มขึ้น เพราะ สภาพทางการเงินดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น การคมนาคมต่าง ๆ ดีขึ้น เศรษฐกิจค่อนข้างดีขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น และมีความชื่นชอบนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อนโยบายและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม – มีนาคม 2561) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.44 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่น เพราะ นโยบายและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่ได้ช่วยประชาชน ทุกระดับอย่างแท้จริง เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก และรัฐบาลแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นโครงการที่ไม่ต่อเนื่อง และเป็นโครงการระยะสั้น รองลงมา ร้อยละ 42.24 ระบุว่า เชื่อมั่น เพราะ นโยบายและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลมีความน่าเชื่อถือ เป็นโครงการที่ดี ทำให้หลาย ๆ อย่างดีขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า มีผู้นำที่ดีและมีความเข้มแข็ง และร้อยละ 8.32 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคาดหวังต่อเศรษฐกิจไทย หลังจากที่มีการเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.96 ระบุว่า คาดว่าจะดีขึ้น เพราะ ต่างชาติจะเข้ามาลงทุนมากขึ้น เนื่องจากมีความมั่นใจต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลชุดใหม่น่าจะมีแนวทางใหม่ ๆ ในการบริหารประเทศได้ดีกว่านี้ รองลงมา ร้อยละ 16.88 ระบุว่า เหมือนเดิม เพราะ ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่แก้ยาก ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหา และต้องอาศัยปัจจัยหลาย ๆ อย่างร่วมด้วยจึงจะดีขึ้นไม่ใช่แค่การเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ชุดไหนก็เหมือนเดิม ร้อยละ 5.92 ระบุว่า คาดว่าจะแย่ลง เพราะ เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก และจะไม่มีความต่อเนื่องในการดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และร้อยละ 18.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 9.44 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.76 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.00 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 32.64 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 50.32 เป็นเพศชาย และร้อยละ 49.68 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 6.72 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ตัวอย่างร้อยละ 14.56 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.32 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.56 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 19.52 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 2.32 ไม่ระบุอายุ
ตัวอย่างร้อยละ 91.20 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.92 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.72 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 4.16 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 20.96 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 70.56 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.24 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 4.24 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 27.12 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.56 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.40 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.36 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.68 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.88 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 10.72 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.40 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.68 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.00 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.36 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 15.92 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.12 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 4.72 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 13.84 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 24.56 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 21.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.32 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.36 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 8.24 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 15.76 ไม่ระบุรายได้
http://www.bangkokbiznews.com
“แบงก์พาณิชย์” รายงานกำไรสุทธิไตรมาสแรกปีนี้ดีเกินคาด”
ธนาคารพาณิชย์รายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2561 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YOY) ดังนี้
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) มีกำไรสุทธิ 11,364 ล้านบาท ลดลง 4.6%
ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มีกำไรสุทธิ 10,766 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.84%
ธนาคารกรุงเทพ (BBL) มีกำไรสุทธิ 9,005 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.4%
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มีกำไรสุทธิ 6,215 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.1%
ธนาคารธนชาต (TBANK) มีกำไรสุทธิ 3,779 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.86%
ธนาคารทหารไทย (TMB) มีกำไรสุทธิ 2,280 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.7%
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LHBANK) มีกำไรสุทธิ 562.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.7%
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMB) มีกำไรสุทธิ 168.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.3%
ธนาคารกรุงไทย (KTB) มีกำไรสุทธิ 6,787 ล้านบาท ลดลง 20.51%
https://www.sanook.com
เฟซบุ๊คเปิดตัว ‘M’ ผู้ช่วยอัจฉริยะในไทย
ยกระดับประสบการณ์ การใช้งานแอพพลิเคชั่นแมสเซ็นเจอร์
รายงานข่าวจาก “เฟซบุ๊ค” เผยว่า เปิดตัวผู้ช่วยอัจฉริยะ “เอ็ม(M)” ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อยกระดับประสบการณ์ การใช้งานแอพพลิเคชั่นแมสเซ็นเจอร์(Messenger) ที่สนุกและไม่มีสะดุดมากขึ้น
ทั้งนี้ เอ็ม พัฒนาโดยเทคโนโลยีเอไอ โดดเด่นด้วยคำแนะนำในแชท เสนอทางเลือกต่างๆ พร้อมแนะนำเนื้อหาและฟีเจอร์ที่จะช่วยเติมเต็มบทสนทนาและเสริมสร้างประสิทธิภาพการใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อการสื่อสารและการจัดการในชีวิตประจำวัน
บริการคำแนะนำจากเอ็มจะปรากฏขึ้น เมื่อตรวจพบข้อความในแชทที่เกี่ยวข้องกับฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การส่งสติ๊กเกอร์จะแนะนำสติ๊กเกอร์ที่เหมาะกับเรื่องที่คุยกันอยู่ เช่น “ขอบคุณ” หรือ “ลาก่อน” การแชร์ตำแหน่งที่อยู่เมื่อคู่สนทนาถามว่า “คุณอยู่ที่ไหน” หรือเมื่อคุณพูดว่า “กำลังไป” จะแนะนำให้คุณแชร์ตำแหน่งปัจจุบันผ่านแชทได้อวยพรวันเกิดสำหรับการแชทแบบเดี่ยว สามารถแนะนำผู้ใช้ส่งสติ๊กเกอร์ เพื่ออวยพรวันเกิดคู่สนทนาได้การโทรผ่านเสียงและวีดิโอ สำหรับการแชททั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม
อย่างไรก็ดี ถ้าเอ็มตรวจพบว่ามีผู้ต้องการคุยผ่านเสียงหรือวีดิโอ เช่น “ต้องการโทรหาฉันไหม” จะแนะนำให้ผู้ใช้เริ่มทำการคุยผ่านเสียงหรือวีดิโอการสร้างโพล (สำหรับการแชทแบบกลุ่มเท่านั้น) ผู้ใช้สามารถสร้างโพล และเปิดโหวตในการแชทแบบกลุ่มได้อย่างง่าย
ผู้ใช้ในไทยสามารถสัมผัสประสบการณ์จากเอ็มได้ง่ายๆ เพียงแค่คุยกับเพื่อนในแชทแบบเดี่ยวหรือแบบกลุ่มตามปกติ เมื่อมีบทสนทนาที่เกี่ยวข้อง โลโก้ M จะปรากฏขึ้นพร้อมคำแนะนำและทางเลือกต่าง ๆ
นอกจากนี้ยังบันทึกไว้ว่าผู้ใช้ชอบหรือไม่ชอบอะไร ยิ่งใช้บริการบ่อยจะยิ่งสามารถช่วยเหลือได้มากขึ้น ทั้งยังสามารถเลือกที่จะไม่ใช้หรือยกเลิกคำแนะนำได้ถ้ารู้สึกว่าสิ่งที่แนะนำไม่เป็นประโยชน์ และหากไม่ต้องการใช้บริการฟีเจอร์นี้ก็สามารถปิดได้ง่ายๆ เพียงเข้าไปที่การตั้งค่า
http://www.bangkokbiznews.com
ราคาทองทุกชนิด ตามประกาศของสมาคมค้าทองคำ(Gold Traders Association) ประจำวันที่ 23/04/2561
ราคาขายปลีมาตรฐาน ในเขต กทม. นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ หน่วย : บาท/ลิตร |
||||||||||
ปตท PTT |
บางจาก BCP |
เชลล์ Shell |
เอสโซ่ Esso |
คาลเท็กซ์ Caltex |
ไออาร์พีซี IRPC |
พีทีจี เอนเนอยี่ PTG |
ซัสโก้ Susco |
ระยองเพียว Pure |
ซัสโก้ ดีลเลอร์ SUSCO Dealers |
|
แก๊สโซฮอล 95 |
28.15
|
28.15
|
28.15
|
28.15
|
28.15
|
28.15
|
28.15
|
28.15
|
28.15
|
28.15
|
แก๊สโซฮอล E-20 | 25.64 | 25.64 | 25.64 | 25.64 | 25.64 | – | 25.64 | 25.64 | 25.64 | 25.64 |
แก๊สโซฮอล E-85 | 20.44 | 20.44 | – | – | – | – | – | 20.44 | 20.44 | – |
แก๊สโซฮอล 91 | 27.88 | 27.88 | 27.98 | 27.88 | 27.88 | 27.88 | 27.88 | 27.88 | 27.88 | 27.88 |
เบนซิน 95 | 35.26 | – | – | – | 35.71 | – | 35.76 | 35.26 | 35.26 | 35.26 |
ดีเซลหมุนเร็ว | 27.49 | 27.49 | 27.49 | 27.49 | 27.49 | 27.49 | 27.49 | 27.49 | 27.49 | 27.49 |
ดีเซลหมุนเร็ว พรีเมียม | 30.49 | 30.49 | 30.49 | 30.49 | 30.49 | – | – | – | – | – |
มีผลตั้งแต่ | 21 Apr 05:00 | 21 Apr 05:00 | 21 Apr 05:00 | 21 Apr 05:00 | 21 Apr 05:00 | 21 Apr 05:00 | 21 Apr 05:00 | 21 Apr 05:00 | 21 Apr 05:00 | 21 Apr 05:00 |