จับจุดแข็งวิเคราะห์ศักยภาพแยกลาดพร้าว – วงเวียนหลักสี่

ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่-ลำลูกกา) เริ่มเป็นรูปเป็นร่างอย่างชัดเจน ส่งผลให้พื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าเป็นทำเลที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการที่พัฒนาคอนโดมิเนียมมีการเปิดขายค่อนข้างมากขึ้นในย่านนี้ แต่ก็เป็นเพียงบางสถานีเท่านั้น ยังไม่กระจายทุกสถานี ซึ่งจากการสำรวจพบว่าส่วนใหญ่แล้วจะกระจุกตัวอยู่บริเวณที่มีศูนย์การค้า มหาวิทยาลัย หรือชุมชนดั้งเดิม เช่น พื้นที่รอบๆ สี่แยกลาดพร้าว สี่แยกรัชโยธิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสะพานใหม่ เป็นต้น

สำหรับตลาดคอนโดมิเนียมตามแนวเส้นทางนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของคอนโดมิเนียมที่เปิดขายมากขึ้นตั้งแต่ช่วงประมาณปีพ.ศ.2552 – 2554 แต่เห็นได้ชัดในช่วงปีพ.ศ.2558

ฉายภาพย้อนไปช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา บริเวณสะพานใหม่จะมีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายกันต่อเนื่อง แต่ตั้งแต่ปี 59 เป็นต้นมา เริ่มมีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ในพื้นที่รอบๆ สี่แยกลาดพร้าวและรัศมีรอบๆ วงเวียนหลักสี่กระจายกันไปแต่ทำเลที่ดูแล้วน่าสนใจหรือว่าเป็นที่จับตามองของทั้งผู้ประกอบการและผู้ซื้อ จะอยู่ตั้งแต่แยกรัชโยธินไปจนถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวกครอบคลุมพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นโครงการค้าปลีก โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ องค์กรขนาดใหญ่ ที่สำคัญสามารถเดินทางเชื่อมต่อกับพื้นที่อื่นๆ ของกรุงเทพฯได้สะดวก

ด้านนายสรุเชษฐ์ กองชีพ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) คาดการณ์ว่า ในปีพ.ศ.2560 จะมีคอนโดมิเนียมเปิดขายในทำเลนี้ มากกว่า 3,000 ยูนิต ซึ่งจากการสำรวจคอนโดมิเนียมที่เปิดขายอยู่ในละแวกนี้ ณ สิ้นเดือนเมษายน พ.ศ.2560 มีอยู่ราว 10,120 ยูนิต และมีอัตราการดูดซับแล้วประมาณ 90%

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ มีความคืบหน้าประกอบกับราคาขายคอนโดมิเนียมในช่วงนี้ยังไม่สูงเกินไป โดยราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 75,000 บาทต่อตารางเมตร แต่อย่างไรก็ดี ความน่าสนใจของโครงการจะแตกต่างกันไปตามทำเลและราคาขายที่ผันแปรตามทำเลนั้นๆ ด้วย

.Lift LP

“สนามรบใหม่” ตลาดคอนโดในซอย
ทำเลที่เป็นชุมชนดั้งเดิมที่อยู่ในซอยแยกออกจากถนนพหลโยธินไม่ไกลจากโครงการค้าปลีก หรือ มหาวิทยาลัย ซึ่งจะทำให้ราคาขายคอนโดมิเนียมในทำเลในซอยมีราคาต่ำกว่าโครงการที่อยู่ริมถนนพหลโยธิน

ขณะเดียวกัน คอนโดมิเนียมที่อยู่รอบๆ สี่แยกลาดพร้าวตอนนี้มีแนวโน้มราคาเกิน 130,000 – 140,000 บาทต่อตารางเมตรภายในปีนี้แน่นอน เช่นเดียวกับพื้นที่รอบๆ สี่แยกรัชโยธินที่อาจจะแตะ 100,000 บาทต่อตารางเมตร ในขณะที่โครงการใหม่ที่คาดว่าจะเปิดขายในปีนี้แถวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะมีราคามากกว่า 120,000 บาทต่อตารางเมตร

เรียกได้ว่าตลอดทั้งเส้นทาง ตั้งแต่สี่แยกลาดพร้าวถึงวงเวียนหลักสี่ ราคาขายคอนโดมิเนียมใหม่ๆ เกินกว่า 100,000 บาทต่อตารางเมตรแน่นอน แต่ถ้าพิจารณาถึงโครงการที่สร้างเสร็จก่อนหน้านี้ในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา น่าจะมีราคาต่ำกว่านี้ หรือถ้าใครที่สนใจคอนโดมิเนียมราคาต่ำกว่านี้ก็มีบางโครงการที่น่าสนใจแต่อยู่ในซอยต่างๆ ที่แยกออกจากถนนพหลโยธิน

map

อีก 2 ปี ราคาคอนโด ณ วันนี้ จะปรับเพิ่มไม่ต่ำกว่า 20%
ในอนาคตทั้งราคาขายต่อตารางเมตรและราคาที่ดินบนทำเลนี้จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอนเพราะรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายที่วิ่งเข้าสู่ศูนย์กลางธุรกิจได้โดยตรงและเป็นเส้นทางที่พาดผ่านกรุงเทพฯที่ยาวที่สุด ทำให้พื้นที่ตลอดแนวเส้นทางนี้ในอนาคตจะเป็นที่สนใจอย่างมากทีเดียว

โดนเฉพาะคอนโดมิเนียมโครงการใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คาดว่าจะมีราคาขายสูงขึ้นมากกว่า 20% โดยเฉพาะในพื้นที่รอบๆ สี่แยกรัชโยธิน และสี่แยกลาดพร้าว โครงการคอนโดมิเนียมที่อยู่ในซอยแยกต่างๆ อาจจะไม่ได้รับความสนใจในช่วงก่อนหน้านี้แต่ปัจจุบันก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่ใช่น้อยเพราะด้วยราคาขายที่ต่ำกว่า และทำเลที่อาจจะไม่ได้ติดถนนพหลโยธิน แต่หลายๆ ซอยมีความเป็นชุมชน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายไม่ได้น้อยไปกว่าพื้นที่ริมถนนพหลโยธินเลย

ที่มา ddproperty.com


‘ภาษีน้ำหวาน’ หนทางสู่คนไทยสุขภาพดีจริงหรือ?

‘ภาษีน้ำหวาน’ หนทางสู่คนไทยสุขภาพดีจริงหรือ?

การที่กระทรวงการคลังเดินหน้าจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกินเกณฑ์มาตรฐานสุขภาพ หรือที่เรียกกันว่า “ภาษีน้ำหวาน” นั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ เคยเป็นกระแสมาแล้วตั้งแต่ปี 2559 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ราคาเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกินเกณฑ์มาตรฐานมีราคาสูงขึ้น หรือปรับลดน้ำตาลลง ส่งผลต่อเนื่องให้ผู้บริโภคลดการบริโภคสินค้าดังกล่าวลง หรือลดปริมาณน้ำตาลที่ได้รับ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ที่สร้างภาระให้ประเทศต้องเสียค่าใช้จ่ายจากโรคเหล่านี้เป็นจำนวนมาก

‘น้ำหวาน’ เพิ่ม ‘เบาหวาน’ เพิ่ม ‘ภาระประเทศ’
ตลาดเครื่องดื่มในไทยมีมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งหลัก ๆ เป็นตลาดเครื่องดื่มที่มีรสหวาน โดยเครื่องดื่มในท้องตลาดเกือบทั้งหมดมีน้ำตาลมากกว่า 6 กรัม/มิลลิลิตร ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีความหวานมากเกินไป เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานในไทย

จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราเสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานต่อประชากรแสนคน ในภาพรวมของไทยในปี 2556-2558 เท่ากับ 14.93, 17.53 และ 17.83 ตามลำดับ ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป เมื่อปี 2557 พบว่า ความชุกของโรคเบาหวาน เพิ่มสูงขึ้นเป็น 8.9% คิดเป็นจำนวนมากถึง 4.8 ล้านคน เทียบกับปี 2552 ซึ่งพบเพียง 6.9% หรือมีคนเป็นโรคเบาหวาน 3.3 ล้านคน รวมถึงจำนวนผู้มีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นจาก 34.7% ในปี 2552 เป็น 37.5% ในปี 2557

ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2551 พบว่า ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกในการรักษาพยาบาลโรคเบาหวานเฉลี่ย 1,172 บาท/คน ส่วนผู้ป่วยในค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ย 10,217 บาท/คน รวมค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้น 3,984 ล้านบาท/ปี หากคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน 3 ล้านคน/ปี จะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้นประมาณ 47,596 ล้านบาท/ปี

Sugar_02

เก็บภาษี 20-25% เครื่องดื่มทุกประเภทที่มีรสหวาน
การจัดเก็บภาษีความหวานของกรมสรรพสามิต จะจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกินเกณฑ์มาตรฐานสุขภาพ อาทิ น้ำอัดลม ชาเขียว นมเปรี้ยว นมถั่วเหลือง กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลังและเกลือแร่ น้ำผลไม้และน้ำพืชผัก รวมถึงเครื่องดื่มที่หวานตามธรรมชาติที่ไม่ได้ใส่น้ำตาลเพิ่มด้วย โดยจัดเก็บภาษี 2 อัตรา ตามความเข้มข้นของน้ำตาลคือ

– ปริมาณน้ำตาลมากกว่า 6-10 กรัม/100 มิลลิลิตร จัดเก็บภาษีไม่น้อยกว่า 20% ของราคาขายปลีก
– ปริมาณน้ำตาลมากกว่า 10 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร จัดเก็บภาษีไม่น้อยกว่า 25% ของราคาขายปลีก

ส่วนแนวทางในการจัดเก็บภาษีความหวานนั้น จะให้ผู้ประกอบการเริ่มปรับเปลี่ยนส่วนผสมของน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ของตนเอง 2 ปี คือตั้งแต่ 16 กันยายน 2560-30 กันยายน 2562 ถ้าหากทำได้จะให้สิทธิผู้ประกอบการในการเสียภาษีเท่าเดิม แต่ถ้ารายใดไม่ปรับเปลี่ยนส่วนผสม หรือทำได้ช้ากว่านั้น จะเริ่มจัดเก็บภาษีแบบอัตราก้าวหน้า ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ยังได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการให้ติดสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” เพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นผ่านการควบคุมปริมาณน้ำตาล ไขมัน และเกลือ ให้ลดลงอย่างเหมาะสมตามปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน เพื่อที่ผู้บริโภคจะได้ตัดสินใจง่ายขึ้น

แน่นอนว่าฝั่งที่ได้รับผลกระทบไปเต็มๆ คือผู้ประกอบการเครื่องดื่มที่มีน้ำในตาลทั้งหมด โดยเฉพาะในตลาดชาเขียว และน้ำอัดลม ที่เตรียมปรับกลยุทธ์กันเต็มที่ แว่วว่ามองไว้ทั้ง 2 ด้าน คือ ลดปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มลง และการปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้รับประโยชน์แน่ๆ คือผู้บริโภคที่มีตัวเลือกเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากขึ้น และประเทศที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 1 หมื่นล้านบาท/ปี

ที่มา ddproperty.com


ลงทุนอะไรดี ไม่ต้องเสียภาษี

ลงทุนอะไรดี ไม่ต้องเสียภาษี

คนมีเงินต้องคิดหนัก จะลงทุนอะไรก็ยากลำบาก คิดจะนำเงินไปฝากธนาคารพาณิชย์ ก็ต้องเผชิญกับดอกเบี้ยเงินฝากก็แสนจะน้อยนิดแล้ว แถมยังต้องมาถูกหักภาษีดอกเบี้ยอีก 15%

ครั้นจะหันไปลงทุนหุ้นดีๆ รอกินเก็บเกี่ยวเงินปันผล ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องถูกหักภาษีเงินปันผลในอัตรา 10%

คิดไปคิดมาผลตอบแทนหลังจากหักเงินภาษีดอกเบี้ยและเงินเฟ้อแล้วแทบจะไม่เหลืออะไร

มีบ้างไหม ลงทุนอะไรบ้างที่ไม่ต้องเสียภาษี?

ไม่ใช่จะมาแนะนำวิธีการหลบเลี่ยงการจ่ายภาษี เพราะการเสียภาษีเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่จะต้องเสียภาษี เพื่อนำเงินภาษีไปพัฒนาประเทศชาติ

ก็ต้องมีบ้าง “การลงทุน” ที่ได้รับการยกเว้นภาษี

เพราะการที่รัฐบาลจะให้สิทธิพิเศษ “ยกเว้นภาษี” การลงทุนบางประเภท เพื่อที่จะจูงใจให้ออมเงิน หรือส่งเสริมให้มีการลงทุน และเราก็ไม่ต้องเขินอายที่จะเลือกการลงทุนที่ไม่ต้องเสียภาษี เพราะมันเป็น “สิทธิ” ของเราเอง

มาดูตัวอย่าง 9 รูปแบบการลงทุนโดยไม่เสียภาษี แบบถูกต้องตามกฎหมายด้วยนะ

1.เงินฝากเผื่อเรียกของธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้รับการยกเว้นภาษี

2.การลงทุนซื้อสลากออมสิน หรือสลาก ธ.ก.ส.ก็ได้สิทธิพิเศษไม่ถูกหักภาษีดอกเบี้ย ณ ที่จ่าย

3.เงินฝากออมทรัพย์จากสหกรณ์ ซึ่งการฝากเงินกับสหกรณ์ได้อันดับแรกจะต้องสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ก่อน และจะต้องจ่ายเงินสมทบเป็นทุนเรือนหุ้นเท่าๆ กันทุกเดือน  ซึ่งผลตอบแทนที่จะได้สหกรณ์มี 2 รูปแบบ คือ “เงินปันผล” และ “ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์” ก็ได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเช่นกัน

เงินฝากออมทรัพย์ธนาคารพาณิชย์ส่วนไม่เกิน 2 หมื่นบาท กรณีที่นำเงินไปฝากกับธนาคารพาณิชย์ ดอกเบี้ยเงินฝากส่วนที่ไม่เกิน 2 หมื่นบาท จะได้รับการยกเว้นภาษีส่วนดอกเบี้ยเงินฝากส่วนที่เกิน 2 หมื่นบาท ก็ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปตามระเบียบ

4.เงินฝากประจำปลอดภาษี เป็นผลิตภัณฑ์การเงินที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมให้ออมเงินระยะยาว โดยมีเงื่อนไขจะต้องเป็นเงินฝากประจำรายเดือนติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือน โดยมียอดเงินฝากแต่ละคราวเท่ากัน แต่ไม่เกิน 2.5 หมื่นบาท/เดือน และรวมทั้งหมดต้องฝากไม่เกิน 6 แสนบาท

ข้อระวังหากไม่สามารถจะฝากเงินติดต่อกันจนครบ 24 เดือน หรือไถ่ถอนเงินฝากก่อนกำหนดก็ไม่ได้รับดอกเบี้ยพิเศษตามที่ธนาคารกำหนด รวมทั้งไม่ได้รับสิทธิประโยชน์การหักดอกเบี้ยภาษี 15%

5.เงินฝากประจำสำหรับผู้สูงอายุ 55 ปีขึ้นไป จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป รวมไม่เกิน 3 หมื่นบาท ตลอดปีภาษี ซึ่งก็มีธนาคารหลายแห่งออกผลิตภัณฑ์การลงทุนเงินฝากเพื่อผู้สูงวัย เช่น “เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษผู้สูงวัย” ของธนาคารออมสิน กำหนดระยะเวลาเดือนที่ 1-6 จ่ายดอกเบี้ย 1% ต่อปี เดือนที่ 7-12 ดอกเบี้ย 1.50% ต่อปี เดือนที่ 13-18 จ่ายดอกเบี้ย 2% ต่อปี เดือนที่ 19-24 ร้อยละ 3% ต่อปี เฉลี่ยร้อยละ 1.875 ต่อปี (เทียบเท่าเงินฝากประจำ 2.206% ต่อปี)

6.กองทุนรวมที่ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล เนื่องจาก “เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีตามข้อ 2 (32) ของกฎกระทรวงฉบับที่ 126 พ.ศ. 2509 ให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี

7.กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) คือ กองทุนรวมประเภทหนึ่งที่ตั้งขึ้นเพื่อระดมทุนไปใช้พัฒนากิจการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อประโยชน์สาธารณะของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโครงการของรัฐหรือเอกชน เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน ทางพิเศษ หรือทางสัมปทาน ท่าอากาศยานหรือสนามบิน ท่าเรือน้ำลึก โทรคมนาคม รถไฟฟ้า รถใต้ดิน เป็นต้น

โดยกองทุนรวมที่จะจัดตั้งนั้นจะต้องระบุเฉพาะเจาะจงเลยว่าจะนำเงินไปลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานประเภทใด เช่น กองทุน BTSGIF หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน  ระบบขนส่งมวลชนทางรางบีทีเอสโกรท ทั้งนี้จะได้ยกเว้นภาษีเงินปันผลให้แก่บุคคลธรรมดาเป็นระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนจัดตั้งกองทุน

8.กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) นอกจากสามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% กำไรจากการขายกองทุน LTFที่ถือจนครบ 7 ปีปฏิทินจะได้รับยกเว้นภาษี แต่เงินปันผลที่จ่ายจากกองทุน LTF ไม่ได้รับยกเว้นภาษี ส่วนคนที่ซื้อกองทุน RMF กำไรจากการขายกองทุน RMF ที่ถือไว้จนครบเงื่อนไขจะได้รับยกเว้นภาษีเช่นกัน

9.การลงทุนซื้อหุ้น ในตลาดหลักทรัพย์ฯ กำไรจากการขายหลักทรัพย์ (Capital Gain)  กรณีเป็นบุคคลธรรมดาก็ได้รับการยกเว้นภาษีกำไร รวมถึงเงินปันผลถ้าลงทุนซื้อหุ้นในบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ก็ได้รับการยกเว้นภาษีเงินปันผล แต่ถ้าไม่ใช่บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%

นี่ก็พอเป็นทางเลือกหนึ่งในการลงทุนไม่เสียภาษี ลองไว้พิจารณาดูแล้วกัน

ที่มา posttoday.com


“ขันติที่สมบูรณ์ ต้องมีโสรัจจะประกอบอยู่ด้วย”

” .. สีลสมาธิคุณานํ ขนฺติ ปธานการณํ สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ เต” พระพุทธศาสนสุภาษิต บทนี้แปลความว่า “ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะขันติเท่านั้น”

“ขันติ” ความอดทนความทนทาน อย่างสามัญ อย่างสามัญที่มีความอดกลั้นเป็นลักษณะ เรียกว่า “อธิวาสนขันติ” ขันติคือความอดกลั้น เช่น ทนตรากตรำต่อ หนาว ร้อน หิว กระหาย เป็นต้น ทนลำบากต่อทุกขเวทนาในเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย ทนต่อความเจ็บใจ ต่อถ้อยคำ จาบจ้วงล่วงเกิน

เพราะสิ่งที่อดทนเหล่านี้มีเกิดขึ้นอยู่ที่กาย ใจ ปรากฎมีหนาว ร้อน หิว กระหาย มีทุกขเวทนา มีความเจ็บใจ จึงอดกลั้นไว้ หนาว ร้อน หิว กระหาย ก็อดกลั้นตามที่ควรอดกลั้น เจ็บปวดก็อดกลั้นไม่ร้องทุรนทุราย เจ็บใจก็อดกลั้นไม่แสดงอาการโกรธร้ายแรงทางกาย วาจา อดกลั้นให้อยู่ในใจและพิจารณาระบายออก ทำให้ผ่อนคลาย ไม่ให้เครียด ให้สงบ ใจจึงแจ่มใสแช่มชื่น กายก็สงบเป็นปกติ

อาการดังนี้เรียกว่า “โสรัจจะ” ที่แปลว่าความเสงี่ยมคือสงบปกติ “ขันติที่สมบูรณ์จึงต้องมีโสรัจจะประกอบอยู่ด้วย” การหัดอดกลั้นและทำใจให้สงบ เป็นปกติในเวลาต้องอนิฏฐารมณ์ คือเรื่องที่ไม่ชอบ ย่อมยากในตอนแรก

แต่เมื่อหัดปฏิบัติบ่อยเข้า ก็จะง่ายขึ้น จนถึงทำจิตให้สงบเป็นปกติได้ มีอาการมั่นคง มีอารมณ์อะไรมากระทบกระทั่งก็ไม่กระเทือน ขันติก็เลื่อนขึ้นเป็นมีความทนทานเป็นลักษณะ เรียกว่า “ตีติกขาขันติ” ขันติคือ ความทนทาน ดังที่ตรัสไว้ในโอวาทปาฎิโมกข์ว่า “ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา” ขันติ คือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง

“ขันติเป็นอลังการวิเศษ”อำนวยผลแก่ผู้ที่มีอยู่ทุกคน เพราะผู้ที่มีจิตใจเข็มแข้งอดทนสงบอยู่เป็นปกติ ทนทานได้ทุกสถานการณ์ ย่อมชื่อว่าได้ที่ตั้งรับอันมั่นคง เป็นผู้ชนะในขั้นที่ตั้งรับแล้ว ทำให้สามารถปฎิบัติกิจหน้าที่ให้สำเร็จ .. ”

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ที่มา www.dhammathai.org


ราคาทองทุกชนิด ตามประกาศของสมาคมค้าทองคำ(Gold Traders Association) ประจำวันที่ 19/06/2560

ชนิดความบริสุทธิ์ของทอง

ราคารับซื้อต่อกรัม

ราคารับซื้อ/บาท

ราคาขายออก/บาท

ทองคำแท่ง 96.5% n/a 20,100.00 20,200.00
ทองรูปพรรณ 96.5% 1,302.00 19,738.32 20,700.00
ทองรูปพรรณ 90% 1,171.80 17,764.49 n/a
ทองรูปพรรณ 50% 586.00 8,883.76 n/a
ทองรูปพรรณ 40% 456.00 6,912.96 n/a
ทองรูปพรรณ 99.99% 1,349.00 20,450.84 n/a

ราคาน้ำมัน  ประจำวันที่  19/06/2560


ราคาขายปลีมาตรฐาน ในเขต กทม. นนทบุรี
ปทุมธานี และสมุทรปราการ
หน่วย : บาท/ลิตร
ปตท. บางจาก เชลล์ เอสโซ่ ไออาร์พีซี / ทีพีไอ ภาคใต้เชื้อเพลิง ซัสโก้ ระยองเพียว ซัสโก้
ปตท
PTT
บางจาก
BCP
เชลล์
Shell
เอสโซ่
Esso
คาลเท็กซ์
C
altex
ไออาร์พีซี
IRPC
พีทีจี
เอนเนอยี่
PTG
ซัสโก้
Susco
ระยองเพียว
Pure
ซัสโก้ ดีลเลอร์
SUSCO Dealers
แก๊สโซฮอล 95 25.55 25.55 25.55 25.55 25.55 25.55 25.55 25.55 25.55
แก๊สโซฮอล E-20 23.04 23.04 23.04 23.04 23.04 23.04 23.04 23.04 23.04
แก๊สโซฮอล E-85 19.24 19.24 19.24 19.24
แก๊สโซฮอล 91 25.28 25.28 25.28 25.28 25.28 25.28 25.28 25.28 25.28 25.28
เบนซิน 95 32.66 33.51 33.11 33.16 32.66 32.66 32.66
ดีเซลหมุนเร็ว 23.89 23.89 23.89 23.89 23.89 23.89 23.89 23.89 23.89 23.89
ดีเซลหมุนเร็ว พรีเมียม 26.89 27.57 27.57 27.57 27.57
มีผลตั้งแต่ 16 Jun 05:00 16 Jun 05:00 16 Jun 05:00 16 Jun 05:00 16 Jun 05:00 16 Jun 05:00 16 Jun 05:00 16 Jun 05:00 16 Jun 05:00 16 Jun 05:00